Page 43 -
P. 43

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว




               กรณีตัวอย่�งที่ 3: โครงก�รปิดทองหลังพระ สืบส�นแนวพระร�ชดำ�ริ ของไทย

               โครงการปิดทองหลังพระฯ อยู่ภายใต้การดูแลของมูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระ
          ราชดำาริ และสถาบันส่งเสริมการพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำาริ ซึ่งจัดตั้งขึ้น
          ในปี พ.ศ. 2552 ตามมติคณะรัฐมนตรี เพื่อส่งเสริมการพัฒนาตามแนวทางพระราชดำาริ และเน้นการนำา
          ความรู้ 6 มิติ คือ นำ้า ดิน เกษตร พลังงานทดแทน ป่า และสิ่งแวดล้อม จากองค์พระบาทสมเด็จ
          พระเจ้าอยู่หัวมาปฏิบัติใช้เพื่อแก้ไขปัญหาให้กับชุมชน โดยปรับนำ้าหนักแต่ละเรื่องให้สอดคล้องกับสภาพ
          ภูมิสังคมในแต่ละที่ การพัฒนายึด  3 ขั้นตอน คือ เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา และให้เกิดการประสานงาน
          ระหว่างองค์กรของหลวง องค์กรของรัฐ และองค์กรของท้องถิ่น
                 โครงการเริ่มต้นจากพื้นที่ต้นแบบ 3 อำาเภอในจังหวัดน่าน ได้แก่ อำาเภอท่าวังผา สองแคว และ
          อำาเภอเฉลิมพระเกียรติ รวม 21 หมู่บ้าน มีเป้าหมายหลักในการแก้ไขปัญหาความยากจนให้ชาวบ้านอยู่
          ได้ด้วยตัวเองอย่างยั่งยืน และการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม โดยปัญหาหลักดั้งเดิม
          ของพื้นที่เหล่านี้คือ การขาดแหล่งนำ้า ปัญหาอุทกภัย หน้าดินพังทลาย การปลูกพืชเชิงเดี่ยว และการใช้สาร
          เคมีในการทำาเกษตรจำานวนมาก โดยโครงการจะเข้าไปช่วย 1) พัฒนาแหล่งนำ้า เช่น การกักเก็บโดยการทำาฝาย
          บ่อพวงสันเขา ระบบการส่งนำ้า 2) การพัฒนาพื้นที่เพาะปลูก เช่น นาขั้นบันได การปลูกพืชหลังนา การปลูก
          กล้วยเหลืองนวลแทนข้าวโพด 3) การจัดตั้งกองทุนต่างๆ เช่น กองทุนเมล็ดพันธุ์ กองทุนปศุสัตว์ กองทุน
          หัตถกรรมและการแปรรูป เพื่อให้เกษตรกรได้มีสิทธิ์กู้ยืมวัตถุดิบ และนำามาคืนเมื่อได้ผลผลิต ทั้งนี้ โครงการ
          ปิดทองหลังพระได้รับงบประมาณสนับสนุนจากทางภาครัฐปีละ 300 ล้านบาท ตลอดระยะเวลา 5 ปี
          ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2554 ถึง 2558 ซึ่งบางส่วนของงบประมาณได้ถูกนำาไปใช้ในการพัฒนาพื้นที่อื่นๆ นอก
          เหนือจากจังหวัดน่านด้วย โดยในช่วง 2 ปีแรกของโครงการ การดำาเนินการจะเน้นไปที่การทำาให้ชาวบ้าน
          ในพื้นที่ปรับเปลี่ยนแนวทางการทำาเกษตรเพื่อให้สามารถอยู่รอดได้และตระหนักถึงหลักความพอเพียง

                 ผลจากการประเมินผลการดำาเนินงานในช่วง 2 ปีแรก (ปี พ.ศ. 2552-2554) พบว่า ลักษณะ
          การดำาเนินการของโครงการมุ่งสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรมและรวดเร็ว ซึ่งต่างจาก
          ลักษณะของโครงการพัฒนาอื่นๆ ที่มักเริ่มต้นด้วยการประชุมมากมายหลายครั้งจนทำาให้พลวัตเมื่อต้อง
          นำาไปปฏิบัติจริงแผ่วลงไป อย่างไรก็ดี การพยายามให้ชาวบ้านเห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วมีผลให้
          เกิดทัศนะที่ว่า การดำาเนินงานเร่งรีบเกินไป ทำาให้การมีส่วนร่วมของชาวบ้านในการคิดไปด้วยมีน้อยเกิน
          ไปและขาดความสุขในการทำางาน ผลจากการดำาเนินการในช่วงแรก ชาวบ้านเห็นการเปลี่ยนแปลงในมิติ
          นำ้า (สร้างฝายเกษตรเก็บนำ้าบ่อพวงสันเขา ท่อส่งนำ้า)  มิติเกษตร (พืชหลังนา เช่น ถั่วลันเตา บล็อคโคลี่
          พริก และพืชข้างนา) มิติดิน (นาขั้นบันได) ชัดเจนที่สุด และชาวบ้านมีความพึงพอใจให้การตอบรับอย่าง
          ดี แต่ผลการดำาเนินการในมิติป่า เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมยังไม่เห็นผลชัดเจน มิติเรื่องการบริหารจัดการ
          กองทุนยังเป็นเรื่องที่อ่อน และการคืนพื้นที่ป่ายังไม่เห็นผลอย่างเป็นรูปธรรม เนื่องจากเรื่องป่าอาจต้อง
          อาศัยเวลาเพื่อให้คนเข้าใจ อยู่รอดได้ พอเพียงได้ก่อน และประเด็นท้าทายที่ต้องการการแก้ไขและพัฒนา
          อย่างต่อเนื่อง คือ ฝายเกษตร หรือที่กักเก็บนำ้าที่สร้างขึ้น ต้องสร้างความรู้สึกการเป็นเจ้าของของชุมชน
          เพื่อให้เกิดการดูแลรักษาที่ต่อเนื่อง ปัญหาด้านการตลาดของพืช เช่น กล้วยเหลืองนวล หรือวัตถุประสงค์
          ของการปลูกพืชหลังนา เพื่อการส่งออกหรือไม่ จะขัดแย้งกับแนวทางความพอเพียงหรือไม่ และจะสร้าง
          คนเพื่อมาบริหารจัดการกองทุนต่างๆ อย่างไร (อนุชาติ พวงสำาลี และคณะ, 2555)



          32      ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า: ปัญหาและทางออก
   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48