Page 45 -
P. 45

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว




               Neef et al. (2006a) ใช้กรณีศึกษาจากพื้นที่ต่างๆ ในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
          ของไทยในการแสดงให้เห็นว่าแนวทางของภาครัฐในด้านสิทธิถือครองที่ดิน การปฏิรูปที่ดิน รวมถึง
          นโยบายด้านทรัพยากรธรรมชาติ ที่รัฐยังไม่เต็มใจที่จะให้ภาคประชาสังคมหรือชุมชนมีส่วนร่วมและมี
          สิทธิ์ในการดูแลและใช้ประโยชน์จากพื้นที่ป่าหรือทรัพยากรในบริเวณที่ตนอาศัยพึ่งพิงอยู่ ประกอบกับ
          ความคลุมเครือในด้านการดำาเนินนโยบายที่มีวัตถุประสงค์ที่ขัดแย้งกัน นำาไปสู่ปัญหาใหญ่ทั้งในด้านความ
          มั่นคงทางอาหารและสภาพความเป็นอยู่ที่แย่ลงของเกษตรกร ในทำานองเดียวกัน Neef (2012) ได้
          พยายามชี้ให้เห็นความสำาคัญของการดำาเนินนโยบายอนุรักษ์พื้นที่ต้นนำ้าที่ต้องมองรอบด้าน คำานึงถึง
          ลักษณะความสัมพันธ์ทางสังคม สถาบัน และไม่เน้นเฉพาะเรื่องทางเทคนิค หรือตลาดเพียงอย่างเดียว
         และชี้ให้เห็นตัวอย่างของความล้มเหลวในกรณีที่รัฐเน้นการอนุรักษ์ผ่านการออกกฎหมายและกฎระเบียบ
          แต่เพียงอย่างเดียว และในขณะเดียวกันเน้นการปลูกพืชเชิงพาณิชย์เพื่อสร้างรายได้ ซึ่งเป็นแนวทางที่
         ต้องพึ่งพาตลาดเป็นปัจจัยหลักและทำาให้เกิดวงจรของการเฟื่องฟูมากและตกตำ่ามาก (Boom and bust)
         ตามการเปลี่ยนแปลงของราคา แม้ในกรณีการใช้แนวทางสังคมมากเกินไป หรือการใช้การรวมกลุ่มของ
         ชุมชนเป็นกลไกหลักอย่างเดียวก็นำาไปสู่ความล้มเหลวเช่นกัน เนื่องจากมีโอกาสมากที่กลุ่มปัญญาชนของ
         ท้องถิ่นจะกลายเป็นผู้กำาหนดทิศทาง สามารถกำาหนดได้ได้ว่าจะให้ใครเข้าร่วมหรือไม่เข้าร่วม ใครจะได้
         ประโยชน์หรือไม่ได้ประโยชน์ ผู้วิจัยเสนอว่านโยบายที่ให้ความสำาคัญกับมาตรการสร้างแรงจูงใจ และ
         การเป็นหุ้นส่วนกันจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลายฝ่าย จะสามารถช่วย ลดความขัดแย้งของการพยายาม
         อนุรักษ์และการพัฒนา ได้ประโยชน์และความยั่งยืนทั้ง ในแง่การผลิต ระบบนิเวศ และความเป็นอยู่ของ
         คน ผู้วิจัยได้ชี้ประเด็นเหล่านี้ผ่านกรณีศึกษาของบ้านแม่สาน้อย กับบ้านแม่สาใหม่ในจังหวัดเชียงใหม่

                 เมื่อพิจารณาถึงเรื่องการสร้างแรงจูงใจให้กับกลุ่มที่อยู่ในพื้นที่ต้นนำ้าในการดูแลรักษาผืนป่า
         เพื่อประโยชน์สาธารณะและคนกลุ่มปลายนำ้า Neef and Thomas (2009) ได้ให้บทสังเคราะห์เกี่ยวกับ
         แนวคิดและผลของการใช้ระบบการจ่ายค่าตอบแทนการให้บริการทางนิเวศ (PES) เป็นเครื่องมือในการ
         แก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมพื้นที่ต้นนำ้า และใช้กรณีศึกษาการใช้ PES ในพื้นที่สูงทางเหนือของไทยและ
         เวียดนาม ในการชี้ให้เห็นถึงความเป็นไปได้และข้อด้อยของการใช้วิธีนี้ในการสร้างแรงจูงใจให้คนในพื้นที่
         ต้นนำ้าร่วมกันอนุรักษ์ ผู้เขียนแจกแจงเรื่องรูปแบบของการตอบแทนและชี้ให้เห็นว่า การตอบแทนในรูป
         แบบของเงินอย่างเดียวอาจจะไม่เพียงพอและไม่เหมาะสมกับบริบททางเศรษฐกิจและสังคมของกลุ่ม
         คนในพื้นที่สูง แรงจูงใจในรูปแบบอื่น (In kind) เช่นการให้สิทธิ์ถือครองที่ดิน การฝึกอบรม การสร้าง
         หรือปรับปรุงโครงสร้างสาธารณะ ชื่อเสียงทางสังคม มีความจำาเป็นต่อผลสำาเร็จในระยะยาวด้วย ซึ่ง
         สอดคล้องกับงานของPorras et al. (2008), Wunders (2008) (อ้างถึงใน Neef and Thomas, 2009)


          3.5  ปัจจัยที่มีผลต่อกำรเปลี่ยนพฤติกรรมของเกษตรกร
               มีงานวิจัยหลายงานที่พยายามศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความพยายามของเกษตรกรในการปลูกป่า

          และการเข้ามามีส่วนร่วมกับโครงการปลูกป่าหรือปรับเปลี่ยนสู่การเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
          (Dewees, 1992; Godoy, 1992; Thatcher et al., 1997; Nagendra, 2007) โดยสามารถแยกปัจจัย
         หลักๆ ที่พบว่ามีผลต่อการตัดสินใจได้ออกเป็น 5 กลุ่มใหญ่ด้วยกัน ได้แก่





          34      ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า: ปัญหาและทางออก
   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50