Page 41 -
P. 41

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว




               นอกจากนี้ รัฐบาลกลางยังไม่ตระหนักถึงความสำาคัญของการสร้างแรงจูงใจที่เหมาะสม แรงจูงใจ
          ที่ใช้มีรูปแบบที่ง่ายและหยาบเกินไป เพราะการกำาหนดระดับการอุดหนุนที่เท่ากันทุกพื้นที่ถึงแม้จะมี
          ลักษณะทางกายภาพที่ต่างกันทำาให้ขาดประสิทธิภาพในการดำาเนินโครงการ หลายครัวเรือนประสบ
          ปัญหาว่าค่าตอบแทนที่ได้รับตำ่ากว่ารายได้เดิมของตนจากการเพาะปลูกบนพื้นที่นี้ก่อนเข้าร่วมโครงการ
          นอกจากนี้ การจ่ายค่าตอบแทนเป็นธัญพืชยังไปบิดเบือนกลไกตลาดธัญพืชทำาให้ราคาตลาดของผลผลิต
          ธัญพืชตำ่าลงในช่วงแรกและมีการผลิตธัญพืชลดลงมาก นำาไปสู่การขาดแคลนและการเพิ่มขึ้นของราคา
          ธัญพืชในช่วงต่อมา ซึ่งเป็นเพิ่มภาระของการอุดหนุน

               ปัญหาที่เกิดขึ้นมาจากการขาดการวางแผนที่ดีและรัฐบาลกลางต้องการเร่งขยายพื้นที่
          เป้าหมาย โดยไม่ได้คำานึงถึงต้นทุนด้านการตรวจสอบดูแลซึ่งเพิ่มสูงอย่างรวดเร็ว ปัญหาการขาดกำาลัง
          คน กำาลังเงิน และปัญหาจากการคอร์รัปชั่นในองค์กรที่เกี่ยวข้องยังทำาให้ที่ดินที่เข้าร่วมโครงการไม่ได้รับ
          การตรวจสอบ พื้นที่ที่ยังมีประสิทธิภาพการผลิต เช่นพื้นที่ราบกลับถูกนำามาอยู่ในโครงการด้วย ในบาง
          มณฑลพื้นที่ที่เข้าร่วมส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบ รัฐบาลยังไม่สามารถควบคุมคุณภาพของเมล็ดพันธุ์หรือต้น
          กล้าที่ต้องส่งให้เกษตรกรได้ หลายครัวเรือนไม่ได้รับค่าตอบแทน ทั้งในรูปแบบเงินและธัญพืชหรือได้รับ
          ล่าช้า และเนื่องจากต้นทุนการดำาเนินโครงการที่สูง รัฐบาลท้องถิ่นบางที่ต้องใช้ยอมใช้งบประมาณขาด
          ดุลติดต่อกัน ซึ่งเป็นผลพวงมาจากปัญหาการปฏิรูปภาษีการเกษตรที่มีอยู่เดิม มาผนวกกับภาระค่าใช้
          จ่ายที่สูงขึ้นและรายได้ที่เสียไปจากการดำาเนินโครงการ SLCP
               กรณีตัวอย่�งที่ 2: โครงก�ร Forestry Bond Certificate in Advance (CAFa) โครงก�ร
          Forestry Development Fund (FDF) และโครงก�ร Costa Rica’s Programa de Pago de
          ServiciosAmbientales (PSA) ของคอสต�ริก�

               โครงการ CAFa และ FDF
               ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1965 ประเทศคอสตาริกาประสบปัญหาพื้นที่ป่าถูกทำาลายอย่างรุนแรงจากการแผ้วถาง
          ป่าไม้เป็นพื้นที่การเกษตรประมาณถึง 30,000 – 50,000 เฮกเตอร์ต่อปี สร้างปัญหาการขาดแคลนไม้สำาหรับ
          ใช้ในประเทศ ความหลากหลายทางชีวภาพที่เสื่อมถอยลง และการพังทลายของหน้าดินอย่างรุนแรง (Thrupp,
          1990) ทำาให้รัฐบาลใช้มาตรการอุดหนุน (Subsidy) เพื่อสร้างแรงจูงใจในการรักษาพื้นป่าและพื้นที่ต้นนำ้า

               ในปี ค.ศ. 1979 รัฐบาลพยายามใช้หลายมาตรการเพื่อสนับสนุนการปลูกป่า ตั้งแต่การให้
          ประโยชน์ทางภาษีให้สินเชื่ออุดหนุนผ่านการให้งบประมาณกับหน่วยงานท้องถิ่นเพื่อทำาโครงสร้างพื้น
          ฐานสำาหรับการปลูกป่า แต่โครงการเหล่านี้ประสบปัญหาหนักเรื่องต้นทุนที่สูงมาก และเจ้าของที่ดินที่
          ได้ประโยชน์เป็นกลุ่มที่รำ่ารวยอยู่แล้ว รวมถึงปัญหาคอรัปชั่นและการจัดการที่ผิดพลาด
               ต่อมาในปี  ค.ศ. 1988 และ 1989 รัฐบาลจัดตั้งโครงการ Forestry Bond Certificate in
          Advance (CAFa) และ Forestry development fund (FDF) ตามลำาดับ เพื่อทำาหน้าที่ให้เงินทุน
          ตั้งต้น (Grant) กับเกษตรกรรายย่อยขนาดกลาง (ที่ดินระหว่าง 30-150 เฮกเตอร์) และขนาดเล็ก (ที่ดิน
         ไม่เกิน 30 เฮกเตอร์) ซึ่งรวมตัวกันในรูปของสมาคม Reforestation Association โดยวัตถุประสงค์หลัก
         ของโครงการนี้คือ เพื่อพยุงอุปทานไม้ให้เพียงพอกับความต้องการในประเทศ แก้ปัญหาการพังทลายของ
         หน้าดินและลดปัญหาที่ดินเสื่อมสภาพ (Marginal land)




          30      ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า: ปัญหาและทางออก
   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46