Page 37 -
P. 37

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว




               ดังนั้น จะเห็นได้ว่า

               1)  การพัฒนาที่มองว่าสิ่งแวดล้อมกับเศรษฐกิจเป็นข้อขัดแย้งซึ่งกันและกัน เป็นสิ่งที่ต้องเลือก
                  อย่างใดอย่างหนึ่ง และ
               2) การพัฒนาที่ขาดการคำานึงถึงปฏิสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมอย่างรอบด้าน
               ทั้งสองประเด็นดังกล่าวสามารถนำาไปสู่ผลลัพธ์ที่ทั้งเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมต่างก็แย่ลง (Loss-
          Loss outcome) ได้ในขณะที่การพัฒนาที่จะนำาไปสู่ผลลัพธ์ที่ดีต่อทั้งเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม (Win-Win
          reform) นั้นสามารถทำาได้ แต่จะต้องปรับทัศนคติในการกำาหนดเป้าหมายการพัฒนาและวางนโยบาย
          เสียก่อน แล้วจึงหาทางออกที่เหมาะสมในแต่ละกรณีไป

               ในกรณีของการบุกรุกป่าเพื่อปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ลาดชันนับเป็นตัวอย่างหนึ่งของการ
          พัฒนาแบบแยกส่วนที่นำาไปสู่ loss-loss outcome นั่นคือ เกษตรกรมีความเป็นอยู่ที่แย่ลงและประสบ
          ปัญหาหนี้สินที่เพิ่มมากขึ้น ในขณะเดียวกันก็ทำาให้สภาพสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมลงด้วยโดย Pongkijvorasin
          and Talerngsri-Teerasuwannajak (2014) ได้ใช้ทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์แสดงให้เห็นถึงปัญหาของ
          การใช้นโยบายเพิ่มผลตอบแทนในการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (เช่น การจำานำาหรือประกันราคา) โดยขาด
          การการบังคับดูแลและควบคุมการใช้พื้นที่เพาะปลูกไม่ให้มีการขยายไปยังพื้นที่ป่าไม้ (ซึ่งเป็นจุดอ่อนที่
          สำาคัญของการอนุรักษ์ในประเทศไทย) เพราะเท่ากับเป็นการไปเกื้อหนุนให้เกษตรกรขยายพื้นที่ปลูก
          ข้าวโพดไปในพื้นที่ลาดชันโดยเข้าไปบุกรุกในพื้นที่ป่ามากยิ่งขึ้นด้วยเช่นกัน และในงานฉบับดังกล่าว ได้
          มีการนำาเสนอมาตรการบางประการที่สามารถนำาไปสู่ผลลัพธ์ที่เป็น win-win หรือผลลัพธ์ที่เกษตรกรได้
          รายได้มากยิ่งขึ้น (win ทางเศรษฐกิจ) ในขณะเดียวกันก็สามารถลดพื้นที่ปลูกข้าวโพดในที่ชันและคืน
          พื้นที่ป่าได้มากขึ้นได้ด้วย (win ทางสิ่งแวดล้อม)

                 มาตรการที่ถูกยกตัวอย่างว่าจะนำาไปสู่ผลลัพธ์ที่เป็น win-win เช่น การพัฒนาระบบชลประทาน
          โดยแม้ว่าจะมีผลทางตรงในการเพิ่มผลตอบแทนของการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์โดยตรง แต่การพัฒนา
          ระบบชลประทานสามารถกำาหนดพื้นที่ที่รัฐต้องการส่งเสริมให้เพาะปลูกได้ รวมทั้งยังสามารถใช้เป็น
          เครื่องมือต่อรอง ให้เกษตรกรลดหรือเลิกปลูกในบางพื้นที่ซึ่งไม่เหมาะสมต่อการทำาการเกษตรได้ นอกจาก
          นี้ การให้เงินอุดหนุนโดยตรง (subsidy) เพื่อให้ชาวบ้านเลิกปลูกข้าวโพดหรือในลักษณะของค่าตอบแทน
          ในการดูแลป่า ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่สามารถทำาให้เกิดผลลัพธ์ที่เป็น win-win ได้ แต่อาจจะมีปัญหาในด้าน
          งบประมาณที่ต้องใช้เป็นจำานวนมาก ซึ่งอาจจะส่งผลต่อความยั่งยืนของโครงการในระยะยาว และการ
          ให้ความรู้และให้เกษตรกรเปรียบเทียบผลที่จะเกิดขึ้นในระยะยาวก็เป็นอีกทางหนึ่งที่จะจัดทำาได้ แต่อาจ
          จะใช้เวลานานและทำาได้ยากในทางปฏิบัติ


          3.2 มำตรกำรอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในประเทศไทย
               เนื่องจากปัญหาสิ่งแวดล้อมมักเกิดจากความล้มเหลวของกลไกตลาด (Market failures) โดยมี
          สาเหตุหลักมาจากการที่สิ่งแวดล้อมหรือบริการของระบบนิเวศโดยส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นผลกระทบ
          ภายนอก (Externalities) และสินค้าสาธารณะ (Public goods) ทำาให้ราคาของสินค้าสิ่งแวดล้อมไม่มี
          ในระบบตลาดหรือมีแต่ไม่สะท้อนถึงมูลค่าที่แท้จริง ความล้มเหลวของกลไกตลาดดังกล่าวจึงทำาให้การ




          26      ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า: ปัญหาและทางออก
   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42