Page 34 -
P. 34
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
(Pareto Efficiency) ซึ่งสามารถแสดงได้โดยจุดที่อยู่บนเส้นขอบเขตที่เป็นไปได้ (จุด A หรือ จุด B ใน
ภาพที่ 3.1) ในกรณีนี้ การพัฒนาที่เกิดขึ้นจะมีลักษณะการเลือกระหว่างการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (ราย
ได้) หรือสิ่งแวดล้อม หากต้องการให้เศรษฐกิจดีขึ้น รายได้ของประชาชนสูงขึ้น ก็ต้องแลกมาด้วยสิ่ง
แวดล้อมที่เสื่อมโทรมลง การใช้ทรัพยากรที่เพิ่มมากขึ้น (จุด A) หรือหากเลือกที่จะอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
ให้อยู่ในสภาพดี ใช้ทรัพยากรให้น้อยลง ก็ต้องยอมรับกับการที่เศรษฐกิจหรือรายได้จะลดลงเช่นกัน (จุด
B)
อย่างไรก็ตาม ในความเป็นจริงแล้วปัญหาสิ่งแวดล้อมเกือบทั้งหมดเกิดจากความไม่มี
ประสิทธิภาพของตลาด (Market failures) เนื่องจากสิ่งแวดล้อมมักมีผลกระทบต่อคนจำานวนมาก
(Externalities) และมักจะไม่มีตลาดสำาหรับสินค้าหรือบริการของสิ่งแวดล้อม ทำาให้ราคาไม่สะท้อนผล
ได้หรือต้นทุนของสินค้าและบริการที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมได้อย่างครอบคลุม ในกรณีนี้ทำาให้สถานภาพ
ปัจจุบันไม่ได้อยู่ในจุดที่มีประสิทธิภาพเหมาะสมที่สุดแต่เป็นจุดที่อยู่ภายในเส้นขอบเขตที่เป็นไปได้ (เช่น
จุด C ในภาพที่ 3.1) (Vincent and Gillis, 1998) ดังนั้น หากเรามีความเข้าใจที่ถูกต้องเช่นนี้ มุมมอง
ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมสามารถที่จะเปลี่ยนจากความขัดแย้งหรือทางเลือกระหว่าง 2
ด้าน มาเป็นการพัฒนาที่สามารถเกื้อกูลและส่งเสริมซึ่งกันและกัน และนำาไปสู่ผลลัพธ์ที่ดีขึ้นต่อทั้ง
เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม (Win-Win Reform) ได้ (การพัฒนาที่นำาไปสู่พื้นที่ทางขวาบนของจุด C ใน
ภาพที่ 3.1) (Roumasset and Endress, 1996)
นอกจากการขาดความเข้าใจถึงความไม่มีประสิทธิภาพของกลไกตลาดที่นำาไปสู่ความเป็นไปได้
ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมควบคู่กันไปได้แล้ว ปัญหาสำาคัญประการหนึ่งของการพัฒนา
ประเทศที่ผ่านมาได้แก่การออกแบบและดำาเนินนโยบายแบบแยกส่วนและละเลยความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่อง
ของเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคมอย่างที่ควรจะเป็น
เศรษฐกิจ
A
B
C
สิ่งแวดล้อม
ภ�พที่ 3.1 แนวคิดความขัดแย้งระหว่างการพัฒนาเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม
Highland Maize Farming and Deforestion: Problem and Restorations 23