Page 29 -
P. 29
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทั้งนี้ผลการศึกษารายได้สุทธิเฉลี่ยของเกษตรกรจากงานของ เขมรัฐ เถลิงศรี และสิทธิเดช พงศ์
กิจวรสิน (2555) ที่ประเด็นน่าสนใจอย่างน้อย 3 ประการด้วยกัน ได้แก่
1) รายได้ของเกษตรกรจะขึ้นอยู่กับความผันผวนของราคาข้าวโพดในตลาดโลกและในประเทศ
เป็นอย่างมาก นั่นคือเกษตรกรเป็นผู้รับความเสี่ยงเกือบทั้งหมดจากการเปลี่ยนแปลงของราคา
ข้าวโพด และเมื่อเกิดช่วงที่ราคาข้าวโพดตกตำ่า ก็จะมีผลให้เกษตรกรขาดทุนและจะต้องกู้เงิน
เพื่อนำามาใช้หมุนเวียนในชีวิตประจำาวัน และการกู้เพื่อเพาะปลูกในรอบหรือปีต่อไปด้วยเช่นกัน
2) เกษตรกรในที่ราบโดยเฉลี่ยมีรายได้สุทธิต่อรอบการเพาะปลูกสูงกว่าเกษตรกรในพื้นที่ลาดชัน
เล็กน้อย ทั้งนี้เนื่องจากเกษตรกรในพื้นที่ราบมีการพึ่งพิงการกู้เงินนอกระบบน้อยกว่าเกษตรกร
ในพื้นที่ลาดชัน อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างที่สำาคัญ คือ เกษตรกรในที่ราบสามารถเพาะปลูก
ได้มากกว่า 1 รอบ ซึ่งทำาให้เกษตรกรในที่ราบมีรายได้ต่อพื้นที่เพาะปลูกสูงกว่าและมีปัญหา
หนี้สินน้อยกว่าเกษตรกรในพื้นที่ลาดชัน
3) เกษตรกรในพื้นที่ลาดชันโดยเฉลี่ยแล้วมีรายได้ค่อนข้างตำ่า (น้อยกว่า 80,000 บาทต่อปี)
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกษตรกรที่กู้เงินนอกระบบมีรายได้ที่ตำ่ามาก และเกษตรกรที่ปลูกในที่ชัน
จะสามารถปลูกพืชได้เพียง 1 รอบต่อปี เกษตรกรที่มีรายได้ตำ่าจะมีรายได้ไม่พอกับค่าใช้จ่าย
ในชีวิตประจำาวัน ทำาให้เกษตรกรมักเลือกที่จะกู้เงินและนำาเงินที่ได้จากแหล่งเงินในระบบมา
ใช้ในชีวิตประจำาวัน (แม้ว่าจะเป็นเงินกู้เพื่อการเกษตรก็ตาม) และใช้การกู้ในรูปของวัตถุดิบ
นอกระบบเพื่อทำาการเพาะปลูกในแต่ละปี นอกจากนี้ การที่เกษตรกรปลูกพืชบนพื้นที่ลาดชัน
อย่างต่อเนื่องทำาให้เกิดการสูญเสียหน้าดินและความอุดมสมบูรณ์ของดิน ผลผลิตต่อไร่ในการ
ปลูกในพื้นที่ชันมีแนวโน้มจะลดลงไปเรื่อยๆ ซึ่งก็จะทำาให้รายได้ของเกษตรกรในระยะยาวลด
ลงอีกด้วย
ในงานวิจัยของ เขมรัฐ เถลิงศรี และสิทธิเดช พงศ์กิจวรสิน (2555) ได้แสดงให้เห็นว่าปัญหาที่
เกิดจากการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ลาดชันนั้นมีมากและรุนแรงกว่าในที่ราบ โดยเฉพาะปัญหา
ความเหลื่อมลำ้าระหว่างผู้เล่นต่างๆ ในระบบ (เกษตรกร หัวสี ไซโล) เกษตรกรเป็นผู้รับความเสี่ยงที่เกิด
ขึ้นจากความผันผวนของราคาข้าวโพด
ด้วยข้อจำากัดทางกายภาพ (เป็นที่ลาดชัน ไม่มีนำ้าเพียงพอที่จะปลูกพืชอื่น) ข้อจำากัดทางโครงสร้าง
และสถาบัน (ความยึดโยงกับพ่อค้าคนกลาง) และนโยบายภาครัฐที่ส่งเสริมผ่านการสนับสนุนด้านราคา
ผลผลิต (เช่น โครงการประกันราคาหรือจำานำาผลผลิต) ในขณะที่ไม่สามารถติดตามดูแลพื้นที่เพาะปลูก
ได้ทั่วถึง ทำาให้เกษตรกรพยายามขยายพื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ลาดชันมากขึ้น โดยหวังว่าจะ
ได้รายได้ที่เพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตาม การที่เกษตรกรในพื้นที่ลาดชันเกือบทั้งหมดมีรายได้หลักจากการ
ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เพียงปีละ 1 รอบ ประกอบกับการเพิ่มขึ้นของราคาปัจจัยการผลิต ทั้งปุ๋ย เมล็ด
พันธุ์ ยาปราบวัชพืช อย่างรวดเร็ว ทำาให้เกษตรกรมักอยู่ในสภาวะที่ต้องกู้วัตถุดิบจากแหล่งนอกระบบ
และยอมจ่ายดอกเบี้ยในอัตราที่สูง นอกจากนี้ เมื่อเกษตรกรปลูกข้าวโพดอย่างต่อเนื่องทุกปีทำาให้คุณภาพ
ดินเสื่อมโทรมลง (ดินเสื่อมคุณภาพ หน้าดินพังทลาย) ทำาให้เกษตรกรส่วนใหญ่เลือกที่จะเพิ่มการใช้ปัจจัย
การผลิตให้มากขึ้นและขยายพื้นที่เพาะปลูกอีก เพื่อหวังว่าจะมีรายได้จากการขายผลผลิตเพิ่มขึ้น ซึ่ง
18 ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า: ปัญหาและทางออก