Page 28 -
P. 28
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทั้งนี้ การสำารวจข้อมูลเกษตรกรที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ลาดชันพบว่า เกษตรกรมีพื้นที่
เพาะปลูกเฉลี่ย 36 ไร่/ครัวเรือน มีผลผลิตเฉลี่ย 750 กก./ไร่ และเกษตรกรในพื้นที่ลาดชันใช้เงินลงทุน
ในการเพาะปลูกเฉลี่ยรายละ 133,907 บาท โดยเป็นกู้เงินทุนจากแหล่งเงินกู้ในระบบคิดเป็น 62,223
บาทต่อครัวเรือน (คิดเป็นร้อยละ 50.43 ของต้นทุนทั้งหมด) ใช้เงินทุนของตนเอง 55,359 บาท (ร้อยละ
32.24 ของต้นทุนทั้งหมด) และใช้เงินทุนจากแหล่งเงินกู้นอกระบบถึง 16,324 บาท (ร้อยละ 17.33 ของ
ต้นทุนทั้งหมด)
จากข้อมูลดังกล่าว เมื่อนำาไปประมาณการรายได้สุทธิเฉลี่ยของเกษตรกรที่ปลูกข้าวโพดในพื้นที่
ลาดชัน เมื่อแบ่งเป็นกรณีที่ใช้เงินทุนตนเอง กู้ในระบบ และกู้นอกระบบ รวมทั้งกรณีค่าเฉลี่ยตามการกู้
เงินของเกษตรกร ย้อนหลังตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547–2553 พบว่า ในปีที่ข้าวโพดราคาดี เกษตรกรในที่ชันใช้
เงินทุนของตนเองหรือกู้เงินในระบบจะมีรายได้สุทธิเฉลี่ยกว่า 80,000 บาทต่อปี ในขณะที่เกษตรกรที่กู้
เงินนอกระบบจะมีรายได้เฉลี่ยประมาณ 60,000–70,000 บาทต่อปี แต่ในปีที่ข้าวโพดราคาตกตำ่า
เกษตรกรจะที่ไม่กู้เงินนอกระบบจะมีรายได้ประมาณ 30,000 บาท ในขณะที่เกษตรกรที่กู้เงินนอกระบบ
จะมีรายได้สุทธิเพียงประมาณ 10,000 บาทต่อปี หรืออาจจะถึงกับขาดทุนในกรณีที่ราคาข้าวโพดตกตำ่า
ในขณะที่ต้นทุนวัตถุดิบสูง เช่นในปี พ.ศ. 2551 เป็นต้น (ภาพที่ 2.7)
100,000
80,000 เกษตรกรใช้เงินทุน
ตนเองทั้งหมด
60,000
40,000 เกษตรกรกู้จากแหล่ง
เงินทุนในระบบ
20,000
เกษตรกรกู้จากแหล่ง
0 เงินทุนนอกระบบ
-20,000
ค่าเฉลี่ยจากกลุ่ม
-40,000 ตัวอย่าง
2547 2548 2549 2550 2551 2552 2553
ภ�พที่ 2.7 รายได้สุทธิเฉลี่ยต่อปีของเกษตรกรในที่ชัน (บาท/ปี)
ที่ม�: ปรับปรุงจาก เขมรัฐ เถลิงศรี และสิทธิเดช พงศ์กิจวรสิน (2555)
Highland Maize Farming and Deforestion: Problem and Restorations 17