Page 33 -
P. 33
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
บทที่
3 ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
และตัวอย่างในการแก้ปัญหา
ปัญหาความยากจนและวงจรอุบาทว์ที่เกิดขึ้นจากการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ลาดชันดัง
ที่ได้อธิบายไว้ในบทที่ 2 เกษตรกรส่วนใหญ่พยายามเพิ่มผลผลิต โดยหวังว่าเมื่อผลผลิตมากขึ้นก็จะมีราย
ได้เพิ่มมากขึ้นด้วย ความพยายามดังกล่าวส่งผลให้เกิดการขยายพื้นที่เพาะปลูกไปสู่พื้นที่ป่ามากขึ้นอย่าง
รวดเร็ว สร้างผลกระทบต่อความเสื่อมโทรมของทรัพยากรป่าไม้ในพื้นที่จังหวัดน่านอย่างน่าเป็นห่วง
ทั้งนี้จะเห็นได้ว่า ปัญหาความยากจนและปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นมีความสัมพันธ์กันอย่างมาก
ความพยายามในการแก้ไขปัญหาทั้ง 2 ด้านให้สำาเร็จจึงจะต้องคำานึงถึงความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันอย่าง
หลีกเลี่ยงไม่ได้ การควบคุมดูแลและฟื้นฟูสภาพสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนได้นั้น ต้องเกิดจากการที่เกษตรกร
มีรายได้เพียงพอต่อการดำารงชีวิต ไม่มีแรงกดดันจากปัญหาหนี้สิน ในขณะที่การจะแก้ปัญหาความยากจน
และหนี้สินของเกษตรกรก็จะต้องไม่ไปก่อให้เกิดแรงจูงใจในการทำาลายสิ่งแวดล้อมเพิ่มเติม
เนื้อหาในบทนี้ได้นำาเสนอหลักคิดทางเศรษฐศาสตร์ในการพัฒนา โดยมีเป้าหมายเพื่อแก้ไขปัญหา
ความยากจนและความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมไปด้วยกัน ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาที่ขาดการ
คำานึงถึงความเกี่ยวเนื่องระหว่างความยากจนและสิ่งแวดล้อมดังกล่าว พร้อมกับการนำาเสนอตัวอย่าง
การแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในต่างประเทศและของไทย พร้อมทั้งสรุปองค์ความรู้จากงานวิจัยอื่นที่เกี่ยวข้อง
กับการศึกษานี้ในบทต่อๆ ไป
3.1 แนวคิดกำรพัฒนำเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม
ปัญหาหลักประการหนึ่งในการพัฒนาประเทศที่ผ่านมา พบว่ามีความเข้าใจและมุมมองที่ผิด
ระหว่างการพัฒนาเศรษฐกิจและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ตามหลักคิดทางเศรษฐศาสตร์แล้ว เรามักเชื่อว่าสิ่ง
แวดล้อมและทรัพยากรเป็นเพียงปัจจัยการผลิตในการพัฒนาเศรษฐกิจ การจะพัฒนาเศรษฐกิจต้องเกิด
จากการใช้ทรัพยากร และหากเราอนุรักษ์ทรัพยากรนั่นหมายความว่าเราเสียโอกาสในการพัฒนา
เศรษฐกิจไป ดังนั้น การพัฒนาทางเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมจึงมักจะถูกมองว่าเป็นสิ่งที่ขัดแย้งกันและ
จะต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง (Trade-off) แนวคิดนี้สามารถแสดงผ่านแบบจำาลองเส้นการผลิตที่เป็น
ไปได้ (Possibility Frontier)
ในกรณีที่ความสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมเป็นไปเพียงแค่สิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัย
การผลิตในการพัฒนาเศรษฐกิจ และไม่เกิดความล้มเหลวของกลไกตลาด (เช่น ไม่มีผลกระทบภายนอก
ไม่มีข้อจำากัดของตลาด และราคาตลาดสะท้อนต้นทุนที่แท้จริง) กลไกตลาดจะนำาไปสู่ความมีประสิทธิภาพ
22 ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า: ปัญหาและทางออก