Page 30 -
P. 30
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
กลไกนี้ส่งผลให้สิ่งแวดล้อมในพื้นที่เสื่อมโทรมลงอย่างรวดเร็ว อีกทั้งเกษตรกรมีรายจ่ายในการดำารงชีวิต
ที่เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก (เช่น ค่าอาหารและนำ้าเพื่อการอุปโภคบริโภค ค่ายารักษาโรค) รายจ่ายที่เพิ่มขึ้น
ดังกล่าวส่งผลให้เกษตรกรต้องเพิ่มจำานวนเงินกู้และการเชื่อวัตถุดิบ ทำาให้ในท้ายที่สุดเกษตรกรต้องตก
อยู่ในวังวนของ “วงจรอุบ�ทว์ (Vicious Cycle) ของก�รปลูกข้�วโพดเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ล�ดชัน” นี้มากขึ้น
โดยผลประโยชน์ต่างๆ กลับตกไปอยู่ที่พ่อค้าคนกลางที่มีบทบาทในการขายวัตถุดิบ (เมล็ดพันธุ์ ยากำาจัด
วัชพืช ปุ๋ย) ปล่อยเงินกู้นอกระบบให้กับเกษตรกร และเป็นผู้รับซื้อผลผลิตจากเกษตรกร ในขณะที่
เกษตรกรกลับมีผลตอบแทนที่น้อยและมีชีวิตความเป็นอยู่ที่แย่ลงพร้อมทั้งเผชิญกับปัญหาสิ่งแวดล้อม
ที่เสื่อมโทรมมากยิ่งขึ้น (ภาพที่ 2.8)
จะเห็นได้ว่า นโยบายภาครัฐที่ส่งเสริมการปลูกพืชในลักษณะ cash crop ด้วยมาตรการต่างๆ
เพื่อยกระดับรายได้และความเป็นอยู่ของเกษตรกร (เช่น นโยบายประกันราคา นโยบายจำานำาผลผลิต)
โดยไม่คำานึงถึงอุปสรรคลักษณะของพื้นที่ และกลไกระบบการซื้อขายข้าวโพดในพื้นที่ กลับไปสนับสนุน
การขยายพื้นที่การเพาะปลูกของเกษตรกรก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมยิ่งเสื่อมโทรมลง รวมทั้งทำาให้
ปัญหาความยากจนและความเหลื่อมลำ้ามีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น เปรียบเสมือนการยิ่งเข้าไปเร่งวงจรดัง
กล่าวให้มีความเข้มข้นและรุนแรงมากยิ่งขึ้นอีกด้วย
แม้ว่าในปัจจุบัน เกษตรกรหลายรายจะเริ่มตระหนักถึงปัญหาที่เกิดจากการปลูกข้าวโพดเลี้ยง
สัตว์ ทั้งในแง่ชีวิตความเป็นอยู่ของตน ความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมทั้งป่าไม้ แม่นำ้าลำาธาร
ปัญหาสุขภาพที่หลายคนต้องเผชิญมากยิ่งขึ้น แต่คำาถามสำาคัญที่ยังไม่ได้รับการตอบอย่างจริงจังคือ
จะทำ�อย่�งไรให้เกษตรกรส�ม�รถหลุดพ้นจ�กวงจรก�รปลูกข้�วโพดเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ล�ดชันนี้ได้
ไม่ว่�จะเป็นบทบ�ทของภ�ครัฐ เอกชน รวมถึงตัวเกษตรกรเอง ซึ่งเป็นผคำาถามสำาคัญที่งานวิจัยฉบับนี้
ต้องการตอบและสื่อสารไปยังทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
Highland Maize Farming and Deforestion: Problem and Restorations 19