Page 35 -
P. 35
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ในความเป็นจริง สิ่งแวดล้อมไม่ได้มีหน้าที่เพียงแค่เป็นปัจจัยการผลิตสำาหรับใช้ในการพัฒนา
เศรษฐกิจเท่านั้น แต่ยังมีคุณค่าและมูลค่าอีกหลายด้านที่ไม่ได้ถูกสะท้อนอยู่ในระบบตลาดอย่างแท้จริง
เช่น ป่าไม้มีมิติของการเป็นแหล่งอาหาร แหล่งรองรับและเก็บกักนำ้าฝน แหล่งของอากาศบริสุทธิ์พร้อม
กับการเป็นปัจจัยที่เสริมสร้างสุขภาพของประชาชนให้ดีขึ้น อีกทั้งการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อมมีคุณค่าทางจิตใจ เป็นต้น การพัฒนาแบบแยกส่วนนี้ส่งผลให้เกิดผลกระทบทางลบต่อด้าน
อื่นๆ และสร้างความสูญเสียให้กับสังคมโดยรวมในที่สุด
ตัวอย่างเช่น เมื่อรัฐคิดที่จะส่งเสริมทางด้านเศรษฐกิจโดยละเลยหรือขาดการคำานึงถึงปัญหาสิ่ง
แวดล้อมที่อาจจะเกิดขึ้น รัฐอาจจะใช้นโยบายเพิ่มราคาของผลผลิตการเกษตร (เช่น การประกันราคา
หรือจำานำาผลผลิตที่ราคาสูง) โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร อย่างไรก็ตาม ในการดำาเนิน
นโยบายดังกล่าว รัฐอาจมิได้คำานึงถึงข้อจำากัดทั้งด้านคนและงบประมาณในการดูแลควบคุมไม่ให้
เกษตรกรขยายพื้นที่การเกษตรไปบุกรุกพื้นที่ป่า มีผลให้เกิดการขยายพื้นที่เพาะปลูกไปในพื้นที่ป่า อัน
นำามาซึ่งความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม และในท้ายที่สุด สร้างผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของ
เกษตรกร ทำาให้คุณภาพชีวิตกลับตกตำ่าลงไปอีกเนื่องจากค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำาวันที่เพิ่มมากขึ้น การ
ทำาการเกษตรที่ต้องใช้ปุ๋ยและสารเคมีกำาจัดศัตรูพืชมากขึ้นทำาให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นตามไปด้วย เป็นต้น
ทั้งนี้ มีงานวิจัยทางเศรษฐศาสตร์หลายชิ้นที่แสดงให้เห็นว่าการเพิ่มผลตอบแทนทางการเกษตรนำาไปสู่
การบุกรุกพื้นที่ป่าเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในประเทศกำาลังพัฒนาที่ขาดการควบคุมดูแลและการบังคับใช้
กฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพ (Deacon, 1995; Ehui, Hertel and Preckel, 1990; Pongkijvorasin and
Talerngsri-Teerasuwannajak, 2014) แต่หากมีการบังคับใช้กฎหมายที่มีประสิทธิภาพแล้ว การเพิ่มผล
ตอบแทนทางการเกษตรสามารถนำาไปสู่ Win-Win Reform ได้เช่นกัน (Gunatileke and Chakravorty,
2003)
ในกรณีนี้การพัฒนาที่มีเป้าหมายทางเศรษฐกิจเป็นหลักโดยขาดการคำานึงถึงผลกระทบต่อสิ่ง
แวดล้อมและข้อจำากัดการดำาเนินนโยบายอย่างรอบด้าน (Rent-seeking แสดงโดยเส้นประในภาพที่
3.2) กลับส่งผลเสียต่อทั้งเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมในที่สุด (เส้นทึบในภาพที่ 3.2) หรือเป็นการพัฒนาที่
นำาไปสู่ Loss-Loss Solution ในท้ายที่สุด
เศรษฐกิจ
C
สิ่งแวดล้อม
ภ�พที่ 3.2 การพัฒนาเศรษฐกิจโดยขาดการคำานึงถึงสิ่งแวดล้อม นำาไปสู่ Loss-Loss Solution
24 ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า: ปัญหาและทางออก