Page 38 -
P. 38

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว




               จัดสรรทรัพยากรและการตัดสินใจทางเศรษฐกิจเป็นไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพ การตัดสินใจโดยบุคคล
               หรือองค์กรอาจจะไม่นำาไปสู่สิ่งที่ดีที่สุดสำาหรับสังคมโดยรวม จึงต้องมีการแก้ไขปัญหาความล้มเหลวของ
               กลไกตลาด (ส่วนใหญ่เป็นการดำาเนินการโดยภาครัฐ) เพื่อให้เกิดความมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดย
               มาตรการที่สามารถใช้เพื่อวัตถุประสงค์ในการรักษาสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ แบ่งได้เป็น 3 แนวทาง
               หลัก ได้แก่

                     1) การควบคุมโดยตราผ่านการออกและบังคับใช้กฎหมายระเบียบข้อบังคับ (Command and
                       Control) โดยทั่วไปเป็นการให้สิทธิกับรัฐเท่านั้นในการบริหารจัดการ เช่น การบังคับใช้ พรบ.
                       ป่าสงวน การกำาหนดพื้นที่อุทยาน การกำาหนดเขตพื้นที่ป่าอุตสาหกรรม กฎหมายป่าไม้ ซึ่ง
                       ระบุบทลงโทษในกรณีที่มีการฝ่าฝืนไว้อย่างชัดเจน ทั้งหมดเป็นลักษณะการควบคุมและ
                       อนุรักษ์ โดยไม่พึ่งพากลไกตลาดและไม่ได้สร้างแรงจูงใจให้กลุ่มเป้าหมายต้องการ
                       เปลี่ยนพฤติกรรมโดยตัวเอง แต่เน้นที่การควบคุม ป้องกัน ตรวจสอบ พฤติกรรมเพื่อให้เป็น
                       ไปตามกฎระเบียบที่ออกไว้
                     2) การสร้างแรงจูงใจทางเศรษฐศาสตร์ผ่านกลไกตลาด (Market-Based Instrument)

                       โดยรัฐเข้าไปแทรกแซงกลไกตลาดผ่านทางการปรับราคาสินค้า เพื่อสร้างแรงจูงใจให้
                       กลุ่มเป้าหมายปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้วยตนเอง  และปรับการตัดสินใจของบุคคล
                       หรือองค์กรให้สอดคล้องกับจุดที่มีประสิทธิภาพที่สุดของสังคม เช่น การใช้แรงจูงใจทางภาษี
                       (Pigouvian Tax) การอุดหนุนเพื่อลดภาระต้นทุนของกลุ่มเป้าหมาย (Subsidy) และการใช้กลไก
                       ตลาดคาร์บอน (Emission Market) เป็นต้น
                     3) การจัดการระบบกรรมสิทธิ์ให้มีความชัดเจน (Property Rights) เป็นแนวทางที่ถูกเสนอโดย
                       Ronald Coase (1960) นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล ที่เสนอว่าปัญหาสิ่งแวดล้อมสามารถ
                       แก้ไขได้หากมีการกำาหนดกรรมสิทธิ์ของสิ่งต่างๆ ให้ชัดเจน เมื่อกรรมสิทธิ์มีความชัดเจนแล้ว
                       จะสามารถแก้ปัญหาความล้มเหลวของกลไกตลาดได้ (เหมาะสำาหรับปัญหาในบางลักษณะ)
                       โดยจะเกิดการต่อรองระหว่างผู้ใช้และผู้ดูแล เป็นการสร้างราคาที่ถูกต้องให้กับสินค้า
                       สิ่งแวดล้อมผ่านกลไกการต่อรอง โดยสิทธิ์ในการดูแลและอนุรักษ์อาจจะถูกมอบให้กับบุคคล
                       หรือชุมชน ตัวอย่างการกระจายอำานาจการดูแลและอนุรักษ์พื้นที่ให้กับชุมชน เช่น การส่งเสริม
                       การจัดตั้งป่าชุมชนซึ่งเป็นนโยบายที่ได้รับความนิยมแพร่หลายในประเทศกำาลังพัฒนา
                       เนื่องจาก ชุมชนในพื้นที่มีสิทธิตามจารีตประเพณี ในการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากการ
                       เก็บของป่าในพื้นที่  ชุมชนเป็นผู้กำาหนดกฎการใช้ประโยชน์จากป่าและบทลงโทษในกรณี
                                     11
                       ที่มีคนในชุมชนฝ่าฝืนการกำาหนดสิทธิ์และกระจายอำานาจนี้ มีส่วนช่วยให้ต้นทุนในการดูแล
                       รักษาและติดตามตรวจสอบของภาครัฐลดลง (ซึ่งปัญหาต้นทุนการติดตามตรวจสอบและบังคับ
                       ใช้นี้มักจะเป็นปัญหาสำาคัญที่ทำาให้การออกกฎระเบียบไม่ประสบความสำาเร็จ)







               11  ดู Dixon et al. (1994) และ Arnold (1992)



                              Highland Maize Farming and Deforestion: Problem and Restorations  27
   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43