Page 24 -
P. 24
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ราคาดี (เช่น ซีพีหรือเบทาโกร) และโรงงานผลิตอาหารสัตว์จะนำาข้าวโพดไปผลิตเป็นอาหารสัตว์ต่อไป
(ภาพที่ 2.3) นอกจากส่งโรงงานผลิตอาหารสัตว์ขนาดใหญ่แล้ว ผู้รวบรวมบางรายก็จะนำาข้าวโพดไปขาย
ให้กับผู้ผลิตอาหารสัตว์รายย่อยที่มีการตกลงกันไว้ล่วงหน้าบ้าง (เช่น สหกรณ์ผู้เลี้ยงหมูบางราย)
2.3 ผลตอบแทนของกำรปลูกข้ำวโพดเลี้ยงสัตว์ 9
เขมรัฐ เถลิงศรี และสิทธิเดช พงศ์กิจวรสิน (2555) ได้ทำาการสำารวจข้อมูลการผลิตของเกษตรกร
ใน อำาเภอเวียงสา จังหวัดน่านโดยแบ่งเกษตรกรออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ใน
ที่ราบและกลุ่มที่ปลูกในที่ชัน ทั้งนี้ เนื่องจากการปลูกทั้ง 2 ลักษณะมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจนทั้ง
รายละเอียดการปลูก การขาย รอบการปลูก ต้นทุนการปลูก รวมถึงแหล่งเงินทุนที่ใช้ในการเพาะปลูก
ซึ่งผลการวิเคราะห์พบความแตกต่างของผลตอบแทนจากการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกรทั้ง
สองกลุ่มดังนี้:
ผลตอบแทนของก�รปลูกข้�วโพดเลี้ยงสัตว์ในที่ร�บ
การสำารวจเกษตรกรในที่ราบใน ต.ปงสนุก และ ต.นำ้าปั้ว จำานวน 24 รายในปีเพาะปลูก
2553/2554 พบว่า เกษตรกรที่ปลูกในที่ราบส่วนใหญ่ปลูกข้าวโพดได้ปีละ 2 ครั้ง หรือสามารถทำาพืชไร่
ชนิดอื่นได้หลังจากการเก็บเกี่ยวข้าวโพด โดยส่วนใหญ่เป็นการปลูกเพื่อขายสด ซึ่งจะได้ผลผลิตต่อไร่
ประมาณ 950 กก. (นำ้าหนักมากแต่ความชื้นสูง)
การปลูกในที่ราบมีต้นทุนเฉลี่ย 4,010 บาทต่อไร่ (4.22 บาท/กก.) โดยแบ่งเป็นต้นทุนค่าแรง
ประมาณ 1,972 บาทไร่ (2.08 บาท/กก.) ต้นทุนค่าปุ๋ยและสารเคมี 1,200 บาท/ไร่ (1.27 บาท/กก.)
ต้นทุนค่าเมล็ดพันธุ์ 425 บาท/ไร่ (0.45 บาท/กก.) และต้นทุนค่าสีและขนส่งประมาณ 370 บาท/ไร่
(0.39 บาท/กก.) (ตารางที่ 2.1)
ทั้งนี้ ต้นทุนของเกษตรกรจะมากหรือน้อยยังขึ้นอยู่กับแหล่งที่มาของเงินทุนในการเพาะปลูกของ
เกษตรกรด้วย หากเกษตรกรใช้เงินทุนของตนเองในการทำาการเพาะปลูก จะทำาให้ไม่ต้องมีภาระในการ
จ่ายดอกเบี้ยเพิ่มเติมและมีโอกาสที่จะได้กำาไรในทุกปี โดยในปี 2553 ซึ่งเป็นปีที่ข้าวโพดมีราคาสูง
(ประมาณ 8 บาท/กก.) เกษตรกรมีแนวโน้มที่จะได้รายได้เฉลี่ยสุทธิประมาณ 3 บาท/กก. แต่ในปีที่
ข้าวโพดมีราคาตำ่า (6 บาท/กก.) เกษตรกรจะเหลือรายได้สุทธิเฉลี่ยเพียงประมาณ 0.36 บาท/กก.
หากเกษตรกรมีการกู้เงินจากแหล่งเงินกู้ในระบบมาใช้ในการเพาะปลูก เกษตรกรจะต้องมีต้นทุน
ค่าดอกเบี้ยเพิ่ม โดยจะต้องเสียดอกเบี้ยประมาณร้อยละ 5 ต่อปี ทำาให้ต้นทุนการปลูกข้าวโพดจะเพิ่ม
ขึ้นอีกประมาณ 95 บาท/ไร่ (0.10 บาท/กก.) ซึ่งก็จะทำาให้รายได้สุทธิของเกษตรกรลดลงเพียงเล็กน้อย
จากกรณีที่ใช้เงินทุนของตนเอง
9 ข้อมูลทั้งหมดที่อ้างอิงในส่วนนี้มาจาก เขมรัฐ เถลิงศรี และสิทธิเดช พงศ์กิจวรสิน (2555) ผู้อ่านสามารถอ่านรายละเอียด
เพิ่มเติมและต้นทุนการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในที่ราบได้จาก เขมรัฐ เถลิงศรี และสิทธิเดช พงศ์กิจวรสิน (2555)
Highland Maize Farming and Deforestion: Problem and Restorations 13