Page 21 -
P. 21
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
1.0
0.85 0.88
0.8 0.84
0.80
0.6 0.58
0.4 0.38
0.29 0.36
0.2
0.0
2548 2549 2550 2551 2552 2553 2554 2555
ภ�พที่ 2.2 พื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จังหวัดน่าน ปี พ.ศ. 2548-2555 (ล้านไร่)
ที่ม�: สำานักงานเศรษฐกิจการเกษตร (2557)
ปลูกตามฤดูกาลแน่นอนและสามารถใช้ระบบคำ้าประกันกลุ่มได้เนื่องจากเกษตรกรปลูกกันหลายราย
นอกจากนี้ เนื่องจากข้าวโพดเป็นพืชที่มีเกษตรกรปลูกกันหลายราย ทำาให้นโยบายเกี่ยวกับข้าวโพดเลี้ยง
สัตว์มีความเชื่อมโยงกับฐานเสียงทางการเมืองไปด้วย
เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในจังหวัดน่านเกือบทั้งหมดเป็นเกษตรกรรายย่อย มีพื้นที่เพาะ
ปลูก 10-100 ไร่ต่อครัวเรือน โดยปลูกเป็นพืชเชิงเดี่ยว ส่วนใหญ่ปลูกตามพื้นที่ลาดชัน ไม่มีการใช้
เครื่องจักรมากนัก มีผลผลิตต่อไร่อยู่ระหว่าง 400-1,200 กิโลกรัม ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดิน
ในแต่ละพื้นที่ พันธุ์ที่ใช้ปลูก และกรรมวิธีการปลูก ในภาพรวมแล้ว การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในจังหวัด
น่านมีผลผลิตต่อไร่สูงกว่าพื้นที่อื่นๆ เนื่องจากพื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์และมีการใช้สารเคมีในการผลิต
ในระดับที่ค่อนข้างสูง
การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในจังหวัดน่านมีทั้งการปลูกในพื้นที่ราบและพื้นที่ลาดชัน การปลูก
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในที่ราบเกษตรกรส่วนใหญ่จะใช้ระบบขายสด โดยเกษตรกรจะเก็บเกี่ยวข้าวโพดทันที
ที่สามารถเก็บผลผลิตได้ ข้าวโพดที่ได้จะมีความชื้นสูง (สูงกว่าร้อยละ 30) ทำาให้มีราคาต่อหน่วยที่ตำ่า
แต่จะได้ผลผลิตต่อไร่สูงกว่า โดยเฉลี่ยแล้วเกษตรกรที่ปลูกในที่ราบจะได้ผลผลิต 950 กิโลกรัมต่อไร่ และ
5
เกษตรกรบางรายสามารถสามารถปลูกได้ปีละ 2 ครั้ง ซึ่งสามารถทำานาหรือทำาไร่พืชชนิดอื่นได้หลังจาก
เก็บเกี่ยวข้าวโพด ทำาให้เกษตรกรมีรายได้ต่อปีสูงกว่าเกษตรกรที่ปลูกข้าวโพดบนพื้นที่ลาดชัน ข้าวโพด
ที่ปลูกในที่ราบจะแบ่งออกเป็นสองรุ่น คือข้าวโพดรุ่นหนึ่ง ซึ่งจะเริ่มปลูกในเดือนพฤษภาคมและเก็บเกี่ยว
ผลผลิตได้ตั้งแต่เดือนกันยายนไปจนถึงเดือนธันวาคม และข้าวโพดรุ่นสองซึ่งจะเริ่มปลูกหลังจากรุ่นหนึ่ง
เก็บเกี่ยวได้ในช่วงเดือนกันยายนถึงเดือนตุลาคมจะสามารถเก็บเดี่ยวได้อีกครั้งในช่วงเดือนกุมภาพันธ์
5 ข้อมูลจากการสำารวจเกษตรกรใน อ.เวียงสา จ.น่าน ใน เขมรัฐ เถลิงศรี และสิทธิเดช พงศ์กิจวรสิน (2555)
10 ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า: ปัญหาและทางออก