Page 16 -
P. 16

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





               มีโอกาสและมีส่วนร่วมในการสร้างกฎกติกาในการดูแล มีจิตใจที่รักและหวงแหนในผืนป่า ซึ่งทั้งหมดนี้
               ก็จะเข้ามาประกอบให้เกิดการหมุนของวงล้ออนุรักษ์ ผลที่ได้จากการศึกษารายละเอียดการเปลี่ยนแปลง
               และเกษตรกรทั้งในพื้นที่ลุ่มนำ้ามีดและลุ่มนำ้าสบสาย ทำาให้ผู้เขียนสามารถเสนอทางเลือกต่างๆ เพื่อเป็น
               ทางออกจากปัญหาสภาพสิ่งแวดล้อมที่เสื่อมโทรมจากการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในที่ชันในจังหวัดน่าน

                      สำาหรับโครงสร้างของการนำาเสนอนั้น ในบทถัดไปผู้เขียนอธิบายข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับการปลูก
               ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในจังหวัดน่าน ผู้ที่เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องในวงจรการปลูก และผลตอบแทนที่เกษตรกร
               ได้จากอาชีพนี้
                      บทที่ 3 นำาเสนอทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ที่สามารถอธิบายปัญหาที่เกิดขึ้นที่น่าน และใช้แนวคิด
               ดังกล่าวเสนอแนะทางออกเพื่อให้เห็นตัวอย่างประยุกต์ใช้องค์ความรู้ในการแก้ปัญหา ในบทนี้ผู้เขียนยก
               ตัวอย่างกรณีศึกษาโครงการ Sloping land conversion program ในจีน  โครงการ PSA ในคอสตา
               ริก้าโดยผลการดำาเนินงาน อุปสรรค และข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นในโครงการเหล่านี้ สามารถสรุปเป็นบท
               เรียนที่น่าสนใจและน่าเรียนรู้ นอกจากนี้ ยังได้สรุปงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลง
               พฤติกรรมของเกษตรกรไว้ในบทที่ 3 นี้เช่นกัน

                      ในบทที่ 4 ผู้เขียนถ่ายทอดลักษณะของพื้นที่ศึกษาทั้งลุ่มนำ้ามีดและลุ่มนำ้าสบสายในจังหวัดน่าน
               รวมถึงวิธีการศึกษาและเก็บข้อมูล พื้นที่ทั้ง 2 ที่เป็นพื้นที่ศึกษาในงานชิ้นนี้เป็นพื้นที่ตัวอย่างของการนำา
               แนวทางพัฒนาแบบ Win-Win มาใช้ในการแก้ปัญหา ถึงแม้การเปลี่ยนแปลงในพื้นที่ลุ่มนำ้ามีดนั้นจะไม่
               ได้เกิดจากการแทรกแซงหรือพยายามเข้าไปแก้ไขปัญหาจากองค์ภายนอกหรือจากภาครัฐ แต่ปฏิเสธไม่
               ได้เลยว่าการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากภายในพื้นที่สะท้อนให้เห็นแก่นของการพัฒนาแบบ Win-Win
               อย่างเป็นธรรมชาติที่สุด
                      บทที่ 5 แสดงรายละเอียดของทางเลือกต่างๆ ที่มีการดำาเนินการอยู่ในพื้นที่ทั้ง 2 ลุ่มนำ้า ผู้เขียน
               เปรียบเทียบผลตอบแทนจากทางเลือกเหล่านี้กับการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เพื่อแสดงความเป็นไปได้ใน
               ทางเศรษฐศาสตร์ของการลดการปลูกข้าวโพดในพื้นที่ชันและนำาเสนอแนวทางการประยุกต์ใช้ทางเลือก
               เหล่านี้ในพื้นที่อื่น

                      ในบทที่ 6 ผู้เขียนสรุปบทเรียนที่ได้จากการศึกษาพื้นที่ทั้ง 2 ลุ่มนำ้า และสะท้อนมุมมองที่
               เกษตรกรมีต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในพื้นที่ทั้งปัญหา อุปสรรค รวมถึงตัวแปรสำาคัญของการ
               เปลี่ยนแปลง ทั้งนี้เนื่องจากลักษณะการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในลุ่มนำ้าทั้ง 2 มีความแตกต่างกัน โดยจะ
               เห็นได้ว่าบทเรียนจากลุ่มนำ้ามีดได้ชูประเด็นความสำาคัญของการมีพื้นที่ราบและใช้ที่ราบที่มีให้เกิด
               ประโยชน์สูงสุดเป็นปัจจัยสร้างการเปลี่ยนแปลงที่สำาคัญ ในขณะที่บทเรียนจากลุ่มนำ้าสบสายได้สะท้อน
               ความสำาคัญของการใช้มาตรการอุดหนุนในการผลักดันการเปลี่ยนแปลง การเรียนรู้การตอบสนองต่อ
               มาตรการอุดหนุนของเกษตรกรที่มีข้อจำากัดต่างกันไป ผลการศึกษาเหล่านี้ล้วนเป็นจุดตั้งต้นสำาคัญใน
               การออกแบบมาตรการในพื้นที่อื่นๆ ต่อไป

                      บทที่ 7 เป็นการสังเคราะห์ผลการวิจัยทั้งหมดรวมกัน เพื่อนำาเสนอกลไกหลักที่นำาไปสู่การ
               เปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน แล้วจึงนำาสู่บทสรุปสุดท้ายในบทที่ 8 ที่ผู้เขียนตั้งข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อมา
               เสริมองค์ประกอบต่างๆ ที่จำาเป็นต่อการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน



                              Highland Maize Farming and Deforestion: Problem and Restorations  5
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21