Page 14 -
P. 14
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
แม้ว่าจะมีการรณรงค์ทั้งในระดับท้องถิ่นและจากนโยบายส่วนกลางที่สนับสนุนให้เกษตรกร
เปลี่ยนไปทำาการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและการให้ความสำาคัญกับการเกษตรผสมผสานและ
การรักษาพื้นที่ป่าต้นนำ้า ผ่านการสนับสนุนในลักษณะของโครงการย่อยๆ ของหลากหลายหน่วยงาน ทั้ง
องค์กรภาครัฐและเอกชน แต่การรณรงค์และความพยายามดังกล่าวกลับไม่ประสบความสำาเร็จเท่าที่
ควร เนื่องจากเหตุผลหลายด้าน เช่น 1) เกษตรกรจำานวนมากยังไม่ตระหนักถึงปัญหาที่ตามมาจากการ
2
ทำาลายพื้นที่ป่าต้นนำ้าหรือคุณภาพดินที่เสื่อมโทรม เกษตรกรไม่สามารถมองเห็นภาพต้นทุนที่แท้จริงที่
เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วเนื่องจากต้นทุนเหล่านี้ไม่ได้ถูกสะท้อนอยู่ในระบบตลาด แต่กลับถูกกระตุ้นให้
ขยายพื้นที่ปลูกโดยราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ขยับสูงขึ้นเรื่อยๆ ตามความต้องการของอุตสาหกรรมผลิต
อาหารเลี้ยงสัตว์ 2) เกษตรกรพื้นที่สูงจำานวนมากติดอยู่ในวงจรหนี้สินจากการกู้นอกระบบในรูปของ
วัตถุดิบเพื่อปลูกข้าวโพด ทำาให้การหลุดพ้นจากวงจรการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นไปได้ยากมาก หาก
3
ขาดแรงจูงใจที่เป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง (เขมรัฐ เถลิงศรี และสิทธิเดช พงศ์กิจวรสิน, 2555) 3) เกษตรกร
ได้รับสัญญาณที่สับสนจากนโยบายภาครัฐตลอด ซึ่งด้านหนึ่งพยายามรณรงค์ให้เกษตรกรหันหาการปลูก
พืชที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แต่อีกด้านหนึ่งยังพยายามผลักดันนโยบายจำานำา นโยบายประกันราคา/
รายได้ ซึ่งล้วนกระตุ้นให้เกษตรกรยังยึดการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นอาชีพหลักและเพิ่มการผลิตต่อ
ไป 4) เกษตรกรส่วนใหญ่ขาดความรู้และความเข้าใจในการหาทางเลือกทางการเกษตรใหม่ที่ดีกว่าการ
ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 5) ในหลายกรณี องค์กรภายนอกหรือภาครัฐดำาเนินการช่วยเหลือโดยขาด
ความรู้ ความเข้าใจถึงความต้องการที่แท้จริงของเกษตรกร ไม่สามารถทำาให้เกษตรกรสนใจอย่างต่อเนื่อง
และทำาให้การเปลี่ยนแปลงไม่ประสบผลสำาเร็จ และ 6) กฎหมายและกฎระเบียบที่ไม่สอดคล้องกับสภาพ
ในพื้นที่ ทำาให้การบังคับใช้ไม่มีประสิทธิผล และในบางครั้ง ตัวกฎหมายที่ไม่มีประสิทธิภาพนี้เอง
กลับเป็นตัวขัดขวางการเปลี่ยนแปลงที่อาจจะนำาไปสู่สิ่งที่ดีขึ้นในพื้นที่ได้
อย่างไรก็ดี ท่ามกลางสถานการณ์การรุกพื้นที่ป่าต้นนำ้าเพื่อปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ดำาเนินถึง
ขั้นวิกฤตในพื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัดน่าน และสภาพปัญหาที่ยิ่งดูเหมือนจะแย่ลงเรื่อยๆ โดยที่ยังมอง
ไม่เห็นทางออกที่เป็นรูปธรรม สร้างความวิตกกังวลแก่ผู้เกี่ยวข้องหลายฝ่ายในพื้นที่และในระดับนโยบาย
2 จากแผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2555-2558 (รวมถึงแผนในอดีตช่วง 2550-2554) ในยุทธศาสตร์การอนุรักษ์
และฟื้นฟูธรรมชาติอย่างยั่งยืน จะพบว่ามาตรการทั้งระยะเร่งด่วนและระยะปานกลางเกี่ยวกับทรัพยากรป่าไม้จะเป็น
มาตรการเชิงอนุรักษ์ (เช่น แก้ไขกฎหมายให้รุนแรงและเหมาะสมขึ้นหรือการกำาหนดพื้นที่อนุรักษ์) มาตรการเชิงสนับสนุน
(เช่น ศึกษาวิจัยเพิ่มเติม ใช้สารสนเทศในการติดตาม) ขณะที่มาตรการเชิงรุกหรือการใช้เครื่องมือด้านแรงจูงใจมีเพียงการ
ใช้ในรูปแบบของป่าชุมชน หรือภาคีเครือข่ายเฝ้าระวังภัย ส่วนการใช้เครื่องมือด้านแรงจูงใจโดยตรงเช่น กลไก PES
ยังคงเป็นมาตรการเชิงสนับสนุนในระยะปานกลาง ซึ่งยังไม่มีการนำาไปปฏิบัติจริงในตอนนี้
3 เขมรัฐ เถลิงศรี และสิทธิเดช พงศ์กิจวรสิน (2555) พบว่า เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในที่ลาดชันส่วนใหญ่ยังติด
อยู่ในวงจรหรือกับดักของการปลูกข้าวโพดเชิงพาณิชย์ เนื่องมาจากข้อจำากัดและลักษณะเฉพาะของพื้นที่ การผูกขาดใน
ตลาดท้องถิ่น และต้นทุนของการปลูกเชิงพาณิชย์ ส่งผลให้เกษตรกรรายย่อยในพื้นที่ไม่สามารถสะสมรายได้เพื่อพัฒนา
ความเป็นอยู่ของตน ผลประโยชน์ของการปลูกข้าวโพดตกเป็นของผู้รวบรวมขายและบริษัทแปรรูปปลายนำ้าเป็นหลัก
แม้ว่าเกษตรกรจะตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้นและต้องการจะเลิกปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ แต่กลับไม่สามารถถอนตัวออก
จากกับดักนี้ได้ด้วยภาระหนี้สินที่สะสมไว้ตั้งแต่เข้าสู่วงจรการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ทำาให้จำาเป็นต้องทำาการผลิตต่อไป
Highland Maize Farming and Deforestion: Problem and Restorations 3