Page 19 -
P. 19
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
บทที่
2 การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
ในจังหวัดน่าน
ข้าวโพด (Maize) เป็นพืชที่มีการปลูกในเกือบทุกภูมิภาคทั่วโลก เนื่องจากเป็นพืชที่ขึ้นได้ในหลาย
สภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศ และเป็นพืชอาหารที่สำาคัญมากที่สุดชนิดหนึ่งในโลกในปัจจุบัน โดยมี
ทั้งพันธุ์ที่ใช้บริโภคโดยคน (เช่น ข้าวโพดหวาน) และพันธุ์ที่นำาไปใช้ผลิตเป็นอาหารสัตว์ (ข้าวโพดเลี้ยง
สัตว์) และในปัจจุบันมีการนำาผลผลิตข้าวโพดไปใช้ในการผลิตสินค้าอื่นๆ เช่น ยา สารเคมี เอทานอล
เป็นต้น
สำาหรับในประเทศไทยกว่าร้อยละ 90 ของการปลูกข้าวโพดในประเทศไทยเป็นการปลูกข้าวโพด
เลี้ยงสัตว์ เพื่อนำาไปผลิตอาหารสัตว์ และส่วนใหญ่เป็นการปลูกพันธุ์ลูกผสมซึ่งให้ผลผลิตสูง จากสถิติ
การปลูกข้าวโพดของไทยพบว่ามีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นจากประมาณ 2 ล้านตันในปี พ.ศ. 2513 เป็น
ถึง 5.1 ล้านตันในปี พ.ศ. 2557 โดยในปี พ.ศ. 2557 คาดว่ามีพื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดในประเทศไทย
ประมาณ 7.5 ล้านไร่ (สำานักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2557)
ในส่วนของราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศพบว่า ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศจะ
เคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในตลาดซื้อขายล่วงหน้าชิคาโก โดยในช่วงปี พ.ศ.
2548 - 2551 ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หน้าฟาร์มในประเทศไทยได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจากประมาณเกือบ
5 บาทเป็น 8 บาทต่อกิโลกรัม แต่นับจากปี พ.ศ. 2552 ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศเริ่มอยู่ในแนว
โน้มทรงตัว
2.1 ข้อมูลเบื้องต้นกำรปลูกข้ำวโพดเลี้ยงสัตว์ในจังหวัดน่ำน
จังหวัดน่านเป็นจังหวัดที่อยู่ติดชายแดนไทย-ลาว ในภาคเหนือของประเทศไทย และเป็นจังหวัด
ที่มีความสำาคัญในเชิงนิเวศเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นแหล่งต้นนำ้าที่สำาคัญของประเทศ คือ ต้นนำ้าน่าน
ซึ่งเป็นต้นนำ้าสายหนึ่งของแม่นำ้าเจ้าพระยาและปริมาณนำ้ากว่าร้อยละ 40 ของแม่นำ้าเจ้าพระยาก็มาจาก
แม่นำ้าน่านนี้
ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ป่าไม้ในจังหวัดน่านถูกทำาลายไปเป็นจำานวนมาก ในปี พ.ศ. 2547 จังหวัด
น่านมีพื้นที่ป่าไม้ทั้งหมดกว่า 5.3 ล้านไร่ คิดเป็นกว่าร้อยละ 74 ของพื้นที่จังหวัด อย่างไรก็ตาม ข้อมูล
ล่าสุดในปี พ.ศ. 2556 จังหวัดน่านเหลือพื้นที่ป่าไม้เพียง 4.65 ล้านไร่ (ร้อยละ 61 ของพื้นที่จังหวัด)
เท่านั้น (ภาพที่ 2.1) แสดงให้เห็นถึงปัญหาการตัดไม้ทำาลายป่าที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วโดยมีสาเหตุสำาคัญ
ประการหนึ่งจากการขยายตัวของพื้นที่การเกษตร โดยเฉพาะการขยายพื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
8 ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า: ปัญหาและทางออก