Page 22 -
P. 22
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ส่วนการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในที่ลาดชัน (ซึ่งเป็นลักษณะส่วนใหญ่ของการปลูกข้าวโพดเลี้ยง
สัตว์ในจังหวัดน่าน) เกษตรกรจะปลูกข้าวโพดได้เพียง 1 ครั้งต่อปี เกษตรกรส่วนใหญ่เลือกวิธีขายข้าวโพด
แห้งมีความชื้นตำ่าโดยเกษตรกรจะรอให้ฝักข้าวโพดแห้งคาต้นก่อนแล้วจึงค่อยเก็บเกี่ยว ทำาให้ผลผลิตมี
6
ความชื้นตำ่า และมีราคาต่อหน่วยสูง อย่างไรก็ตาม การปลูกและขายข้าวโพดแห้งนี้จะให้ผลผลิตต่อไร่
ตำ่ากว่าการปลูกข้าวโพดสด โดยมีผลผลิตเฉลี่ยประมาณ 750 กิโลกรัมต่อไร่ 7
2.2 ขั้นตอนและผู้เกี่ยวข้องในวงจรกำรผลิตข้ำวโพดเลี้ยงสัตว์ 8
เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดในจังหวัดน่านจะซื้อปัจจัยการผลิต (เช่น เมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย ยาฆ่าหญ้า) จาก
ผู้ขายต่างๆ เช่น สหกรณ์การเกษตร สหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาด (สกต.) ร้านขายอุปกรณ์การเกษตร
รวมทั้งไซโล (ผู้รวบรวมเอกชน) ซึ่งโดยปกติแล้ว เกษตรกรที่มีเงินทุนของตนเองหรือใช้การกู้ในระบบ
(จาก ธกส. หรือสหกรณ์ฯ) จะมีเงินสด ทำาให้เกษตรกรสามารถเลือกซื้อปัจจัยการผลิตจากผู้ขายที่ขาย
ราคาถูกที่สุดได้ ในขณะที่เกษตรกรส่วนใหญ่ที่กู้เงินนอกระบบจะเป็นการเชื่อวัตถุดิบจากร้านค้า
โดยเกษตรกรไปเอาปัจจัยการผลิตจากร้านค้ามาใช้ก่อนได้ แล้วเมื่อเกษตรกรเก็บเกี่ยวผลผลิตจะต้องนำา
ผลผลิตมาขายให้กับร้านค้าที่เกษตรกรมาขอรับปัจจัยการผลิตไป ร้านค้าจะหักค่าปัจจัยการผลิตและ
ค่าดอกเบี้ยจากรายรับที่เกษตรกรจะได้รับก่อนแล้วจึงจ่ายส่วนที่เหลือให้เกษตรกรในกรณีนี้ เกษตรกร
จะไม่สามารถเลือกซื้อวัตถุดิบจากแหล่งที่ราคาถูกได้ และต้องยอมรับราคาที่ร้านค้าหรือผู้ให้กู้นอกระบบ
กำาหนด
เจ้าของไซโลในพื้นที่ก็เช่นกันจะเป็นผู้ปล่อยสินเชื่อวัตถุดิบ โดยปล่อยสินเชื่อที่เป็นปัจจัยการผลิต
ผ่านหัวสี (ผู้รับจ้างสีและขนข้าวโพด) ทั้งนี้ เจ้าของไซโลส่วนใหญ่จะคิดดอกเบี้ยกับเกษตรกรที่อัตรา
ร้อยละ 5 ต่อเดือน โดยจะแบ่งให้หัวสีร้อยละ 2 และเจ้าของไซโลได้รับเองร้อยละ 3 ต่อเดือน
ในฤดูเก็บเกี่ยวเกษตรกรจะจ้างหัวสีให้สีและขนส่งข้าวโพด โดยจากการสำารวจในปี 2553/2554
หัวสีจะคิดค่าบริการทั้งหมดประมาณ 30-60 สตางค์ต่อกก. ขึ้นอยู่กับระยะทางและความลำาบากในการ
เดินทาง หากเกษตรกรไม่ได้เชื่อวัตถุดิบมาใช้ในการปลูก เกษตรกรสามารถเลือกให้หัวสีไปส่งขายให้กับ
ผู้รับซื้อหรือผู้รวบรวมในพื้นที่ (เช่น สหกรณ์การเกษตร ไซโลต่างๆ) ที่ให้ราคาดีที่สุด แต่หากเกษตรกร
เชื่อวัตถุดิบมาใช้ในการปลูก เกษตรกรจะต้องนำาผลผลิตที่ได้ไปขายให้กับผู้ให้สินเชื่อที่ให้ในรูปของปัจจัย
การผลิตและจะโดนหักต้นทุนและดอกเบี้ยที่ใช้ในขั้นตอนการขายนี้เลย ราคาที่ผู้ซื้อรับซื้อจะขึ้นอยู่กับ
คุณภาพของข้าวโพด ทั้งลักษณะเมล็ดข้าวโพด การมีเชื้อรา และความชื้น
6 โดยเฉลี่ยแล้ว หากความชื้นลดลง 1% ราคารับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จะเพิ่มขึ้น 0.10 บาท/กก.
7 ข้อมูลจากการสำารวจเกษตรกรใน อ.เวียงสา จ.น่าน ใน เขมรัฐ เถลิงศรี และสิทธิเดช พงศ์กิจวรสิน (2555)
8 รายละเอียดเพิ่มเติมสืบค้นได้จาก เขมรัฐ เถลิงศรี และสิทธิเดช พงศ์กิจวรสิน (2555)
Highland Maize Farming and Deforestion: Problem and Restorations 11