Page 20 -
P. 20
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
5.40
5.31
5.20 5.16 5.10
5.05
5.00 5.8 4.95
5.06
4.85
4.80 4.75
4.60
4.65
4.40
4.20
2547 2548 2549 2550 2551 2552 2553 2554 2555 2556
ภ�พที่ 2.1 พื้นที่ป่าไม้ในจังหวัดน่าน พ.ศ. 2547-2556 (ล้านไร่)
ที่ม�: กรมป่าไม้ (2557)
ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา พื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในจังหวัดน่านได้ขยายตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว
โดยในปี 2548 จังหวัดน่านมีพื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดไม่ถึง 3 แสนไร่แต่ในปี 2552 พื้นที่เพาะปลูกได้เพิ่ม
ขึ้นเป็นเกือบ 9 แสนไร่ หรือเพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่า ในช่วง 4 ปีดังกล่าว (ภาพที่ 2.2) และล่าสุดในปี พ.ศ.
2557 จังหวัดน่านมีพื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 803,050 ไร่ (ประมาณร้อยละ 10 ของพื้นที่ปลูก
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศ) คาดว่าจะมีผลผลิตเกือบ 0.5 ล้านตัน และเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่เพาะปลูก
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สูงเป็นอันดับที่ 2 ของประเทศ (รองจากจังหวัดเพชรบูรณ์) (สำานักงานเศรษฐกิจ
การเกษตร 2557) 4
จากลักษณะทางกายภาพของจังหวัดน่านที่พื้นที่ส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 85 เป็นที่ลาดชัน มีฝน
ตกในช่วงกลางปีเท่านั้น รวมทั้งมีระบบชลประทานจำากัด ทำาให้เกษตรกรในจังหวัดน่าน (โดยเฉพาะที่
อยู่ในพื้นที่ลาดชัน) ไม่มีทางเลือกในการทำาการเกษตรมากนัก ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จึงเป็นพืชเศรษฐกิจหลัก
ของจังหวัดน่านมากว่า 30 ปี เนื่องจากเป็นพืชที่สามารถปลูกในพื้นที่ลาดชันได้ดี ต้องการนำ้าน้อย และ
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ยังเป็นพืชที่ตอบโจทย์ความต้องการและผลประโยชน์ของผู้เล่นที่เกี่ยวข้อง โดย
เกษตรกรนิยมปลูกเพราะปลูกได้ง่าย มีคนรับซื้อแน่นอน ส่วนพ่อค้าคนกลางและผู้รวบรวมก็ได้กำาไรดี
สามารถขยายฐานลูกค้าเกษตรกรผ่านการให้สินเชื่อเป็นวัตถุดิบได้ง่ายและทำาให้ได้ประโยชน์จากการ
ขายวัตถุดิบได้มากขึ้นพร้อมๆ กับการเก็บดอกเบี้ยจากการให้เชื่อวัตถุดิบ ส่วนธนาคารเพื่อการเกษตรฯ
(ธกส.) ในฐานะผู้ให้สินเชื่อในระบบก็ไม่ต้องกังวลมากเรื่องความเสี่ยงของการค้างชำาระหนี้เพราะเกษตรกร
4 เป็นข้อมูลการขึ้นทะเบียนการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกร โดยคาดว่าพื้นที่เพาะปลูกจริงจะมากกว่านี้มาก
เนื่องจากมีเกษตรกรหลายรายที่ไม่มาขึ้นทะเบียนการปลูก
Highland Maize Farming and Deforestion: Problem and Restorations 9