Page 15 -
P. 15

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว




          ก็ยังมีพื้นที่เล็กๆ ส่วนหนึ่งในจังหวัดน่านที่มีการเปลี่ยนแปลงในทางบวกอย่างเป็นรูปธรรมและสามารถ
          จุดประกายให้ความหวังว่ายังคงมีทางออกที่เป็นไปได้จริงในทางปฏิบัติ ดังเช่น พื้นที่ลุ่มนำ้ามีดใน
          ต. พระพุทธบาท และ ต. เปือ อ .เชียงกลาง ซึ่งเกษตรกรในพื้นที่สูงเหล่านี้ไม่เพียงจะสามารถต้านกระแส
          การขยายพื้นที่การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์บนที่ชันได้ กลับยังสามารถลดการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์บนที่
          ชันและคืนพื้นที่ที่เคยปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในที่ชันให้กลับเป็นพื้นที่ป่าที่อุดมสมบูรณ์ได้ โดยคนในชุมชน
          ร่วมกันสร้างข้อตกลงและกฎระเบียบเพื่อการรักษาความสมบูรณ์ของพื้นที่ป่าอนุรักษ์ มีความรักและ
          หวงแหนในผืนป่า ที่สำาคัญคือ บทบาทของเจ้าหน้าที่ภาครัฐในพื้นที่ดำาเนินไปอย่างเหมาะสม ถูกจังหวะ
          และมีความโดดเด่นในแง่ของการยอมรับสิทธิ์ของชุมชนในการร่วมบริหารจัดการป่าและใช้ประโยชน์จาก
          ป่าอย่างสมดุล

                 นอกจากนี้ยังมีบางพื้นที่ของจังหวัด ซึ่งชาวบ้านได้เข้าร่วมกับโครงการปิดทองหลังพระ สืบสาน
          แนวทางพระราชดำาริ ในการแก้ไขปัญหาความยากจนและสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง เช่น พื้นที่บางส่วนใน
         อ. ท่าวังผา ซึ่งหนึ่งในวัตถุประสงค์ของโครงการคือ การลดการแผ้วถางทำาลายพื้นที่ต้นนำ้า ในการกระตุ้น
         ความสนใจและการมีส่วนร่วม โครงการปิดทองหลังพระฯ ดำาเนินการโดยใช้มาตรการอุดหนุนหลายรูปแบบ
         ด้วยกัน ทั้งในรูปแบบเงินอุดหนุนตรง กองทุนช่วยลดค่าใช้จ่าย และการให้ความรู้และสิ่งอำานวยความ
         สะดวกด้านอื่นๆ ซึ่งในช่วงระยะเวลา 5 ปีภายใต้โครงการ ก็ได้เห็นการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีเกิดขึ้นแล้ว
                 ความสำาเร็จที่เกิดขึ้นในพื้นที่ อ.เชียงกลาง และ อ.ท่าวังผา ได้สร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้ที่มี
         โอกาสสัมผัสและเปิดพื้นที่การเรียนรู้องค์ประกอบที่สร้างความสำาเร็จเหล่านี้ออกมาได้ รวมถึงจุดประเด็น
         ว่าจะทำาอย่างไรจึงจะสามารถประยุกต์ใช้องค์ความรู้จากพื้นที่เหล่านี้ในพื้นที่อื่นของจังหวัดน่าน ที่กำาลัง
         ประสบปัญหาพื้นที่ป่าต้นนำ้าถูกทำาลายอย่างหนัก เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากการปลูกข้าวโพดเลี้ยง
          สัตว์ไปสู่การฟื้นฟูพื้นที่ป่าให้กลับคืนมาได้อย่างประสบผลสำาเร็จและยั่งยืน

                 จุดมุ่งหมายหลักของเอกสารเล่มนี้คือการถ่ายทอดบทเรียนที่ได้จากการศึกษาพื้นที่ที่สามารถ
          เปลี่ยนแปลงจากการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในที่ชันไปสู่การสร้างและอนุรักษ์ผืนป่าได้ โดยเปรียบเทียบ
          สิ่งที่พบจากทั้งพื้นที่ที่ไม่ได้รับมาตรการอุดหนุนอย่างเป็นระบบจากภาครัฐอย่างลุ่มนำ้ามีด และในพื้นที่
          มีโอกาสรับการผลักดันผ่านมาตรการอุดหนุนต่างๆ จากองค์กรภายนอกอย่างพื้นที่ลุ่มนำ้าสบสาย เพื่อให้
          เข้าใจถึงกลไกของการเปลี่ยนแปลงและปัจจัยสำาคัญที่ทำาให้เกษตรกรในพื้นที่สามารถลดการปลูกข้าวโพด
         ได้ รวมถึงการตอบสนองของเกษตรกรต่อมาตรการอุดหนุนเป็นอย่างไร ข้อจำากัดของเกษตรกรแต่ละ
         กลุ่มจะมีผลการออกแบบมาตรการอุดหนุนอย่างไร มุมมองของเกษตรกรที่ได้รับการอุดหนุนต่อเรื่องการ
         ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจากปลูกข้าวโพดสู่การปลูกป่าจะแตกต่างจากกลุ่มที่ไม่ได้รับการอุดหนุนอย่างไร
                 ในการตอบคำาถามข้างต้น ผู้เขียนนำาเสนอตัวอย่างของแนวทางการพัฒนาที่ให้ความสำาคัญกับ
         รายได้และความเป็นอยู่ของเกษตรกรไปพร้อมๆ กับการฟื้นฟูและอนุรักษ์สภาพป่า ซึ่งเป็นแนวคิดที่มอง
         เรื่องการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมในลักษณะ Win-Win นั่นคือการอนุรักษ์ป่าจะเกิดขึ้นไม่ได้
         ถ้าคนที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ไม่สามารถเพิ่มคุณภาพชีวิตหรือได้รับได้ผลตอบแทนจากการอนุรักษ์ป่าไปด้วย
         แนวคิดนี้ได้รับการยอมรับและนำาไปประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมในหลายพื้นที่ทั่วโลกในรูปแบบ
         ที่ต่างกันไปตามลักษณะพื้นที่และภูมิเศรษฐกิจและสังคม แต่โดยรวมแล้ว ผู้ดำาเนินงานด้านการอนุรักษ์
         ในพื้นที่ต้องสามารถได้ประโยชน์จากความอุดมสมบูรณ์ของป่า พึ่งพิงป่าเพื่อสภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น



           4      ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า: ปัญหาและทางออก
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20