Page 13 -
P. 13
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
บทที่
1 อารัมภบท
ที่มำของปัญหำ
ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาพื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในจังหวัดน่านได้ขยายตัวขึ้นอย่าง
รวดเร็ว ถึงเกือบ 3 เท่าในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2548-2552 และในปี พ.ศ. 2557 จังหวัดน่านมีพื้นที่เพาะ
ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 803,050 ไร่ (ประมาณร้อยละ 10 ของพื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศไทย)
(สำานักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2557) ในขณะเดียวกันก็พบว่า ในช่วงเวลาดังกล่าว ป่าไม้ในจังหวัดน่าน
ถูกทำาลายไปอย่างรวดเร็ว ในปี พ.ศ. 2556 จังหวัดน่านเหลือพื้นที่ป่าไม้เพียง 4.65 ล้านไร่ (ร้อยละ 61
ของพื้นที่จังหวัด) เท่านั้น (กรมป่าไม้, 2557)
การขยายตัวอย่างรวดเร็วของพื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศไทย โดยเฉพาะการ
ปลูกข้าวโพดในพื้นที่ลาดชัน ส่งผลกระทบต่อทั้งสภาพสิ่งแวดล้อมและความเป็นอยู่ของประชาชนใน
พื้นที่เป็นอย่างมาก จากข้อมูลระดับจังหวัดแสดงให้เห็นว่า แม้ว่าในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ปริมาณการปลูก
ข้าวโพดในจังหวัดน่านและราคาผลผลิตจะขยับตัวเพิ่มสูงขึ้นเป็นอย่างมาก แต่ปัญหาความยากจนของ
คนในพื้นที่กลับทวีความรุนแรงขึ้นไปด้วย ในปี พ.ศ. 2547 จังหวัดน่านเป็นจังหวัดที่มีสัดส่วนคนจนมาก
เป็นอันดับที่ 39 ของประเทศ แต่ในปี พ.ศ. 2554 ปัญหาความยากจนในจังหวัดน่านกลับเลวร้ายยิ่งขึ้น
โดยพบว่าจังหวัดน่านมีสัดส่วนคนจนสูงมากเป็นอันดับที่ 21 ของประเทศ (สำานักงานคณะกรรมการ
พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2556)
นอกจากปัญหาความยากจนแล้ว การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ลาดชันยังก่อให้เกิดปัญหา
ทางสิ่งแวดล้อมตามมาอีกมากมาย ทั้งปัญหาด้านดิน เช่น ปัญหาการชะล้างพังทลายของดินอย่างรุนแรง
(ในเกือบทุกพื้นที่ของจังหวัด) ปัญหาคุณภาพดิน ปัญหาพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดดินถล่ม นอกจากนี้ยังมี
ปัญหาการปนเปื้อนของมลพิษในแหล่งนำ้าจากการใช้สารเคมีในการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ การปนเปื้อน
ในแม่นำ้าน่านซึ่งเป็นแหล่งต้นนำ้าที่ใหญ่ที่สุดของแม่นำ้าเจ้าพระยา ปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กในอากาศที่
จะมีค่าสูงมากในฤดูหนาว โดยมีสาเหตุหลักจากการเผาไร่ของเกษตรกรเพื่อเตรียมพื้นที่เพาะปลูก
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 1
1 จากการตรวจวัดคุณภาพอากาศ ณ เทศบาลเมืองน่าน ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคม พ.ศ. 2555 พบว่ามีปริมาณ
ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (PM ) เฉลี่ย 24 ชั่วโมงในบางวันสูงถึง 216.4 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (ค่า
10
มาตรฐานไม่เกิน 120 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร)
2 ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า: ปัญหาและทางออก