Page 57 -
P. 57
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ยุทธศาสตร์ที่สำาคัญในการพัฒนาประเทศที่ก่อให้เกิดการสร้างงาน โดยได้มีการ
กำาหนดไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 4 และ 5 ซึ่งเป็น
ยุทธศาสตร์สำาหรับเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร และเป็นยุทธศาสตร์ในการสร้าง
สุขภาพอนามัยของประชาชนให้ดียิ่งขึ้น โดยรัฐให้การสนับสนุนและให้ความ
สำาคัญต่อการบริโภคน้ำานม มีการจัดโครงการรณรงค์ดื่มนม รวมทั้งสนับสนุน
ในด้านการวิจัยและพัฒนาการผลิตโคนมอย่างต่อเนื่อง ซึ่งได้กำาหนดไว้ใน
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับต่อมา โดยในปี พ.ศ. 2529
มีจำานวนโคนมทั้งสิ้น 65,000 ตัว และมีเกษตรกรที่เลี้ยงโคนมประมาณ 5,220
ราย เฉลี่ยรายละประมาณ 13 ตัวต่อฟาร์ม แม่โคนมให้น้ำานมดิบเฉลี่ยประมาณ
10 กิโลกรัมต่อตัวต่อวัน ผลิตน้ำานมดิบได้ 64,000 ตัน หรือผลิตได้เฉลี่ย
วันละ 175 ตัน แต่ปริมาณน้ำานมดิบที่ผลิตได้ในประเทศยังคงไม่เพียงพอ
กับความต้องการบริโภค อีกทั้งการสนับสนุนของรัฐบาลตลอดระยะเวลาที่
ผ่านมา ทำาให้เกษตรกรตื่นตัวและสนใจอาชีพการเลี้ยงโคนมมากขึ้น เนื่องจาก
เห็นว่าการเลี้ยงโคนมสามารถทำารายได้ค่อนข้างดีและสม่ำาเสมอ อาชีพการ
เลี้ยงโคนมในประเทศไทยจึงมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยมีเกษตรกรผู้
เลี้ยงโคนมจำานวนมากขึ้น และมีการนำาเข้าพันธุ์โคนมจากต่างประเทศมา
เลี้ยงปีละกว่า 4,000 ตัว (กรมส่งเสริมสหกรณ์, 2550)
ปัจจุบันการเลี้ยงโคนมในประเทศไทยยังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น
(ภาพที่ 3-1) และกระจายอยู่ในภูมิภาคต่างๆ ซึ่งภาคกลางเป็นพื้นที่ที่มีการ
เลี้ยงโคนมมากที่สุดในประเทศไทย (ร้อยละ 70 ของการเลี้ยงโคนมทั้งหมด;
จังหวัดสระบุรี ราชบุรี และลพบุรี) รองลงมาได้แก่ ภาคตะวันออกเฉียง
เหนือ ภาคเหนือ และภาคใต้ ตามลำาดับ ในปีพ.ศ. 2556 กรมปศุสัตว์
รายงานว่า ประเทศไทยมีเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม จำานวน 17,094 ครัวเรือน
มีจำานวนโคนมรวม 512,205 ตัว จำาแนกเป็นโคนมเพศผู้ จำานวน 11,787
ตัว (ร้อยละ 2 ของโคนมทั้งหมด) โคนมแรกเกิดถึงอายุ 1 ปีจำานวน 104,063
39