Page 56 -
P. 56
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พ.ศ. 2504 โดยเดนมาร์กให้การสนับสนุนเงินงบประมาณจำานวน 4.33 ล้าน
โครเนอร์ (ประมาณ 23.5 ล้านบาท) และจัดส่งผู้เชี่ยวชาญมาร่วมดำาเนิน
การโดยในวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2505 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
และสมเด็จพระราชาธิบดีเฟรเดริคที่ 9 แห่งเดนมาร์ก ได้ทรงประกอบพิธี
เปิดฟาร์มโคนมและศูนย์ฝึกอบรมการเลี้ยงโคนมไทย-เดนมาร์ก อย่างเป็น
ทางการ สร้างความตื่นตัวให้คนไทยหันมาเลี้ยงโคนมเพื่อผลิตน้ำานมในเชิง
การค้าอย่างจริงจังกันมากยิ่งขึ้น รัฐบาลจึงได้โอนกิจการมาจัดตั้งเป็นรัฐวิสาหกิจ
สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตั้งแต่วันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2514
โดยใช้ชื่อว่า “องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.)” ทำา
หน้าที่ให้การส่งเสริมการเลี้ยงโคนม การฝึกอบรมเกษตรกรในการเลี้ยงโคนม
และได้จัดตั้งศูนย์ส่งเสริมการเลี้ยงโคนม และศูนย์รับซื้อน้ำานมดิบจากเกษตรกร
ขณะเดียวกันกรมปศุสัตว์ได้เริ่มโครงการผสมเทียมและจัดตั้งสถานี
ผสมเทียมขึ้นที่ตำาบลห้วยแก้ว อำาเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ และที่
ตำาบลหนองโพ อำาเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี โดยใช้น้ำาเชื้อพันธุ์จากพ่อ
โคพันธุ์บราวน์สวิสซึ่งได้รับความช่วยเหลือจากประเทศสหรัฐอเมริกาใน
การผสมเทียมชุดแรก ทำาให้การเลี้ยงโคนมในประเทศไทยเป็นที่แพร่หลาย
มากยิ่งขึ้น อีกทั้ง เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมได้รวมตัวจัดตั้งเป็นกลุ่มเกษตรกร
และสหกรณ์ผู้เลี้ยงโคนมขึ้นในหลายจังหวัด เช่น เชียงใหม่ ราชบุรี นครปฐม
อยุธยา และพัทลุง เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีฟาร์มเลี้ยงโคนมสวนจิตรลดา
และโรงงานนมผงจิตรลดา ตั้งอยู่ในบริเวณพระราชตำาหนักจิตรลดา เพื่อส่ง
เสริมการศึกษา แก้ปัญหาการเลี้ยงโคนมในประเทศ และแก้ปัญหาทางด้าน
การตลาดให้แก่เกษตรกร
อาชีพการเลี้ยงโคนมในประเทศไทยถูกจัดให้เป็นยุทธศาสตร์ที่สำาคัญ
ในการพัฒนาประเทศ มีเป้าหมายเพื่อทดแทนการนำาเข้านมและผลิตภัณฑ์นม
และทดแทนการปลูกพืชที่มีปัญหาทางด้านการผลิตและการตลาด และถือเป็น
38