Page 60 -
P. 60
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
การเลี้ยงจะเป็นการเลี้ยงครั้งละหลายๆ ตัว มีการปรับปรุงพันธุ์ โดยนำาเข้าโค
พันธุ์ดีจากต่างประเทศมาผสมกับโคพันธุ์พื้นเมือง เพื่อให้ได้โคลูกผสมที่มีโครง
ร่างขนาดใหญ่มีการเจริญเติบโตและมีคุณภาพเนื้อที่ดีเหมาะต่อความต้องการ
ของตลาดระดับกลางและสูงแต่ยังคงมีความต้านทานโรคและแมลง ซึ่งพันธุ์
ที่รัฐบาลให้การส่งเสริมและเป็นที่นิยม คือ พันธุ์บราห์มัน (Brahman) นอกจาก
นี้ยังมีการนำาโคพันธุ์อื่นๆ เข้ามาผสมกับโคพันธุ์พื้นเมืองเพิ่มขึ้น เช่น พันธุ์ชาร์
โรเล่ส์ ลิมูซีน และเฮียร์ฟอร์ด เป็นต้น อีกทั้งเกษตรกรได้มีการปรับเปลี่ยน
การเลี้ยงโคแบบเดิมไปเป็นการจัดการในระบบฟาร์มมากขึ้น เพื่อเป็นการเพิ่ม
มูลค่าทางเศรษฐกิจและลดปัจจัยเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นตลอดระยะเวลาในการเลี้ยง
ดู ภายใต้เงื่อนไขปัจจัยที่มีอยู่อย่างจำากัด ทั้งด้านที่ดิน แรงงาน อาหาร
และเงินทุน ซึ่งรัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนและส่งเสริมการเลี้ยงโคเนื้อมา
โดยตลอด โดยจัดเป็นโครงการหนึ่งในแผนปรับโครงสร้างและระบบการผลิต
การเกษตร โดยหวังจะให้การเลี้ยงโคเนื้อเป็นอาชีพที่ทำารายได้ให้กับเกษตรกร
อย่างสม่ำาเสมอ และเพื่อทดแทนการปลูกข้าวหรือการทำาการเกษตรอื่นๆใน
พื้นที่ที่ไม่เหมาะสม จากการสนับสนุนและส่งเสริมดังกล่าว ทำาให้เกษตรกร
สนใจเลี้ยงโคเนื้อเพื่อการค้ามากขึ้นและมีการพัฒนาความรู้เรื่องโคเนื้อและ
การขุนโคเพื่อให้ได้เนื้อมีคุณภาพดี โคโตเร็ว มีไขมันแทรกในเส้นใยกล้ามเนื้อ
เนื้อมีความนุ่มและฉ่ำา สามารถขายได้ราคาและเป็นที่ต้องการของตลาดเนื้อ
คุณภาพสูงภายในประเทศ เช่น ภายในโรงแรมต่างๆ และตลาดเนื้อคุณภาพ
สูงในต่างประเทศ ส่งผลให้ปัจจุบันเกิดธุรกิจการเลี้ยงโคขุนขึ้น และกระจาย
อยู่เกือบทุกภาคของประเทศ
อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบันโค
เนื้อในประเทศไทยมีปริมาณลดลงอย่างต่อเนื่อง (ภาพที่ 3-2) ทำาให้เกิด
ปัญหาการขาดแคลนโคเนื้อสำาหรับการขุนเพื่อจำาหน่าย ซึ่งปัญหาดังกล่าว
ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น เนื่องจากมีการนำาโคเพศเมียเข้าสู่กระบวนการฆ่าชำาแหละ
42