Page 65 -
P. 65
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
งานของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับโคนมเริ่มต้น
ครั้งแรก เมื่อศาสตราจารย์ ม.ร.ว. ชวนิศนดากร วรวรรณ ซึ่งถือเป็นบิดา
แห่งศาสตร์การเลี้ยงโคนมแห่งชาติ นำาโคนมพันธุ์เจอร์ซี่ (Jersey) จาก
ประเทศออสเตรเลียเข้ามาประเทศไทยเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2495 โดย
เป็นโคพ่อพันธุ์ 2 ตัว และโคแม่พันธุ์ 5 ตัว เพื่อนำามาทดลองเลี้ยงและใช้
ในการเรียนการสอนวิชาการเลี้ยงโคนมและผลิตภัณฑ์นมของภาควิชาสัตวบาล
และจัดทำาตำาราการเลี้ยงโคนมและการเลี้ยงสัตว์ให้กับนิสิตในรายวิชา โดยได้
มีการพัฒนาการเลี้ยงโคนม ครอบคลุมไปถึงการทำาแปลงปลูกหญ้าทดลอง
พันธุ์ต่างๆ เพื่อเป็นอาหารสัตว์ ทั้งที่บางเขน สถานีทับกวาง สถานีศรีราชา
และสถานีกำาแพงแสน เป็นต้นการนำาโคนมพันธุ์เจอร์ซี่เข้ามาเลี้ยงในมหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร์นั้น นอกจากจะส่งผลต่อการเรียนการสอนของนิสิตแล้ว ยัง
กระตุ้นให้ประชาชนเห็นคุณประโยชน์ในการบริโภคน้ำานม และเพิ่มความสนใจ
ให้เกษตรกรหันมาเลี้ยงโคนมมากขึ้น โดยได้ดำาเนินการส่งเสริมให้เกษตรกร
และประชาชนทั่วไปรู้จักการเลี้ยงโคนม การนำานิสิตออกไปศึกษา ค้นคว้า และ
เก็บข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการการเลี้ยงโคนมของเกษตรกร พร้อมทั้งให้คำา
แนะนำาการเลี้ยงให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ ต่อมาจึงได้เกิดความร่วมมือ
ระหว่าง รัฐบาล กรมปศุสัตว์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในการส่ง
เสริมและให้ความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงโคนมแก่เกษตรกร
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้พัฒนางานที่เกี่ยวข้องกับโคนมโดย
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นแห่งแรกที่มีการจัดประชุมวิชาการสาขา
สัตวบาลครั้งที่ 1 ในปี พ.ศ. 2504 นับเป็นประโยชน์ในการแก้ไขและ
พัฒนางานวิจัยด้านการเลี้ยงโคนมเป็นอย่างมาก นอกจากนี้มหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร์ยังได้รับความร่วมมือจากรัฐบาลออสเตรเลีย ในการจัดตั้งโรงงาน
แปรรูปและผลิตภัณฑ์นมครั้งแรกของประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2506 สนับสนุน
อุปกรณ์สำาหรับการผลิตนมพาสเจอร์ไรส์ครบชุด เพื่อใช้ในการเรียนการสอน
47