Page 69 -
P. 69
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ไทยในเรื่องความสมบูรณ์พันธุ์ ได้แก่ การเป็นสัดเร็ว ผสมติดง่าย กับ
คุณสมบัติของโคพันธุ์บราห์มัน คือ ลูกโคมีขนาดใหญ่ เจริญเติบโตรวดเร็ว
และคุณสมบัติของโคพันธุ์โคชาโรเลส์ในเรื่องการให้เนื้อนุ่ม และการเจริญ
เติบโตเร็ว โดยรักษาระดับสายเลือดโคพื้นเมือง 25% เพื่อให้คงความดีของ
ความสมบูรณ์พันธุ์ เลือดพันธุ์บราห์มัน 25% เพื่อให้ได้โครงสร้างใหญ่ขึ้น
และระดับสายเลือดพันธุ์ชาโรเลส์ไว้ 50% เพื่อให้มีเนื้อนุ่มและสามารถอยู่
ได้ในสภาพอากาศแบบร้อนชื้นของประเทศไทยได้
โคเนื้อกำ�แพงแสน
“งานวิจัยโคเนื้อกำาแพงแสน”เป็นโครงการวิจัยของมหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร์ที่มีการดำาเนินงานมาอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน โดย
เริ่มต้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2506 จนถึงปัจจุบัน และยังคงมีการพัฒนาพันธุ์โคเนื้อ
กำาแพงแสนมาโดยตลอด เพื่อให้ได้โคที่ดีที่สุด เหมาะสมกับสภาพพื้นที่และ
การเลี้ยงของเกษตรกรไทย สามารถใช้เป็นโคขุนได้ดี ได้ผลตอบแทนสูง มี
โครงร่างและการเจริญเติบโตดี มีประสิทธิภาพการใช้อาหารสูง ทนต่อเห็บ
และแมลง สามารถเลี้ยงได้ในทุกภาคของประเทศไทย คุณภาพซากและเนื้อ
ดี ทัดเทียมกับเนื้อที่นำาเข้าจากต่างประเทศ เนื้อนุ่ม มีไขมันแทรกพอดี ซึ่ง
ได้รับการรับรองคุณสมบัติโดยสมาคมโคเนื้อพันธุ์กำาแพงแสนและสหกรณ์
โคเนื้อมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำาแพงแสน จำากัด โดยมี
ศูนย์วิจัยและพัฒนาการผลิตกระบือและโคเป็นผู้ทดสอบคุณภาพ (ตารางที่
3.2)ความสำาเร็จของการพัฒนาโคพันธุ์กำาแพงแสนในปัจจุบัน จำาเป็นต้อง
อาศัยความร่วมมือจากบุคคลหลายกลุ่ม ทั้งบุคลากรและกลุ่มนักวิชาการของ
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและ
ภายนอกมหาวิทยาลัย ได้แก่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการผลิตกระบือและโค
51