Page 67 -
P. 67
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ต่อมาในปี พ.ศ. 2512 ได้มีการย้ายโคจากสถานีทับกวางมาที่
กำาแพงแสน จึงได้ทดลองใช้น้ำาเชื้อโคพันธุ์ชาโรเลส์มาผสมพันธุ์กับโคพันธุ์พื้น
เมือง พบว่าโคลูกผสมที่ได้มีการเจริญเติบโตดีและเลี้ยงง่าย อีกทั้งมีความ
สม่ำาเสมอของสีมากกว่าโคลูกผสมพื้นเมืองกับเฮียร์ฟอร์ด จึงได้ทำาการผสม
พันธุ์เพื่อยกระดับสายเลือดชาโรเลส์ขึ้นไปเป็นร้อยละ 75 พบว่า โคลูกผสมที่
ได้เลี้ยงยากมาก ต้องการการดูแลและจัดการค่อนข้างมาก อีกทั้งยังมีปัญหา
เรื่องสุขภาพ (ในสภาพปล่อยทุ่ง) ต่อมาจึงได้ทดลองผสมพันธุ์ให้เป็นโคลูกผสม
3 สาย คือ บราห์มันพื้นเมืองไทย และชาโรเลส์ ทำาให้ได้ลูกผสมที่มีสีสม่ำาเสมอ
เลี้ยงง่าย โตเร็วและให้เนื้อคุณภาพดี ในปีพ.ศ. 2525 ถึง พ.ศ. 2530 ได้
ทดลองผสมเป็น 2 แนวทาง คือ ทำาให้มีเลือดโคพื้นเมืองไทย 25% บราห์
มัน 25% และชาโรเลส์ 50% เรียกว่า โคกำาแพงแสน 1 และทำาให้มีเลือด
โคพื้นเมืองไทย 12.5% บราห์มัน 25% และชาโรเลส์ 62.5% เรียกว่า โค
กำาแพงแสน 2 แต่พบว่า โคกำาแพงแสน2 เลี้ยงยากกว่าในสภาพปล่อยทุ่ง
จึงตัดออกจากแผนผสมพันธุ์ให้เหลือเฉพาะโคกำาแพงแสน1 และเรียกว่า“พันธุ์
กำาแพงแสน” ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530 เป็นต้นมา(ภาพที่ 3-3) หลังจากนั้นได้ก่อ
ตั้งสมาคมเพื่อจดทะเบียนรับรองพันธุ์ประวัติ เมื่อปี พ.ศ. 2534 นับเป็นโค
พันธุ์แรกที่สร้างขึ้นในประเทศไทย และได้มีการนำามาเผยแพร่ให้เกษตรกรเลี้ยง
กันทั่วไป (ปรารถนา, ม.ป.ป ข)
ง�นวิจัยและก�รพัฒน�ด้�นก�รผลิตโคเนื้อและโคนม
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มีการดำาเนินงานด้านการวิจัยและ
พัฒนาด้านการผลิตปศุสัตว์ที่โดดเด่น เป็นประโยชน์ต่อเกษตรกร สังคม
และประเทศชาติมาอย่างต่อเนื่องภายใต้ความดูแลรับผิดชอบจากหน่วยงาน
ต่างๆ ของมหาวิทยาลัย โดยมีผลงานวิจัย บทความ หนังสือ รวมถึงโครงการ
49