Page 59 -
P. 59
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เทคโนโลยีมาใช้ประโยชน์ในการเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการผลิตของ
ฟาร์มมากยิ่งขึ้น
ก�รเลี้ยงโคเนื้อของประเทศไทย
การเลี้ยงโคเนื้อถือเป็นอาชีพการเกษตรที่มีความสำาคัญทาง
เศรษฐกิจต่อประเทศอาชีพหนึ่ง ซึ่งมีมูลค่าไม่ต่ำากว่า 6.5 หมื่นล้านบาท และ
มีเกษตรกรผู้ผลิตไม่ต่ำากว่า 1.03 ล้านครัวเรือน (กรมปศุสัตว์, 2555ค) โดย
การเลี้ยงโคเนื้อของประเทศไทยในอดีตเป็นการเลี้ยงโคพันธุ์พื้นเมืองเพื่อใช้
เป็นแรงงานในภาคเกษตรกรรม ซึ่งมีขนาดร่างกายค่อนข้างเล็ก ขนสั้นเกรียน
มีหลายสี มีน้ำาหนักน้อยประมาณ 200 ถึง 350 กิโลกรัม โตช้า แต่สามารถ
หากินและเจริญเติบโตได้จากหญ้าธรรมชาติ มีความต้านทานโรคและแมลง
ได้ดี โดยโคเนื้อเหล่านี้จะถูกปลดจากการใช้แรงงานเมื่อโคมีอายุมาก หรือ
หมดสภาพไม่สามารถใช้แรงงานได้อีก โดยจะถูกจำาหน่ายเข้าสู่โรงฆ่าสัตว์ ได้
เป็นเนื้อโคคุณภาพต่ำา เนื้อเหนียว มีไขมันแทรกในเส้นใยกล้ามเนื้อน้อย ไข
มันหุ้มซากจะเป็นสีเหลือง เรียกว่า เนื้อวัวมัน ราคาขายต่ำา โดยจะจำาหน่าย
อยู่ในตลาดเนื้อระดับล่าง เนื่องจากไม่เป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศ
และตลาดเนื้อคุณภาพสูงในประเทศ
ต่อมาเมื่อมีการนำาเครื่องจักรกลเข้ามาใช้ทำาการเกษตร เช่น เครื่อง
ไถดิน พรวนดิน หรือเครื่องสีข้าว เป็นต้นช่วยประหยัดเวลา แรงงาน ง่ายต่อ
การใช้งาน ดูแลรักษาง่าย และพร้อมใช้งานได้ตลอดเวลา ทำาให้การใช้โคเพื่อ
ทำาการเกษตรลดน้อยลงจนกระทั่งในปัจจุบัน รูปแบบการเลี้ยงโคได้เปลี่ยน
จากการเลี้ยงเพื่อใช้แรงงานมาเป็นการเลี้ยงเพื่อจำาหน่ายเนื้อโค เนื่องจาก
ความต้องการบริโภคเนื้อโคเพิ่มสูงขึ้น ทั้งจากความต้องการของประชากร
ในประเทศเองและของผู้บริโภคชาวต่างประเทศ (เอกชัย, 2554) โดยลักษณะ
41