Page 54 -
P. 54
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ประเทศไทย ส่งผลให้การเลี้ยงโคเพื่อการผลิตเนื้อ(โคเนื้อ) และการผลิตนม
(โคนม) ได้รับความสนใจและพัฒนาเป็นอาชีพหลัก (การเลี้ยงเชิงธุรกิจ)
มากยิ่งขึ้น ในปัจจุบัน เราจึงพบเห็นการเลี้ยงโคเป็นอาชีพ (ผลิตเนื้อหรือ
นม) มากขึ้นโดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับการขนส่ง
และตลาดส่วนการเลี้ยงโคเพื่อใช้เป็นแรงงานและใช้ประโยชน์ภายใน
ครอบครัวนั้นก็ยังคงพบเห็นได้ในบางพื้นที่ของประเทศไทย โดยเฉพาะในกลุ่ม
เกษตรกรรายย่อยและผู้ที่ทำาการเกษตรแบบพอเพียง การเลี้ยงโคจึงยังคงผูกพัน
กับวิถีชีวิตของคนไทยอย่างต่อเนื่อง
ก�รเลี้ยงโคนมของประเทศไทย
การเลี้ยงโคเพื่อการบริโภคน้ำานมในประเทศไทย เริ่มต้นราวพ.ศ.
2450 โดยชาวอินเดียซึ่งมีวัฒนธรรมการบริโภคนมโคได้อพยพเข้ามาอยู่ใน
ประเทศไทยและนำาโคพันธุ์บังกาลา (Bengal) เข้ามาเลี้ยงเพื่อรีดนมสำาหรับ
การบริโภค แต่เป็นเพียงการบริโภคเฉพาะภายในกลุ่มชาวอินเดียเท่านั้นเนื่องจาก
คนไทยในสมัยนั้นส่วนใหญ่นิยมบริโภคนมข้นหวานที่นำาเข้าจากต่าง
ประเทศยังไม่นิยมการบริโภคนมโค ต่อมาประมาณปี พ.ศ. 2463 หม่อม
เจ้าสิทธิพร กฤษดากร ได้ตั้งฟาร์มเลี้ยงโคนมเพื่อรีดนมไว้บริโภคเองภายใน
ครัวเรือน (ในระบบการเกษตรผสมผสาน) เป็นแห่งแรกที่ตำาบลบางเบิด อำาเภอ
บางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จากนั้นมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้
จัดตั้งฟาร์มโคนมเพื่อเป็นแหล่งศึกษา ผลิตและจำาหน่ายน้ำานมโคซึ่งอยู่ภายใต้
การดูแลของศาสตราจารย์ หม่อมราชวงศ์ชวนิศนดากร วรวรรณ และได้นำา
โคนมพันธุ์เจอร์ซี่ (Jersey) เข้ามาเลี้ยงเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ทำาให้เกิด
การเรียนการสอนวิชาการเลี้ยงโคนม และวิชานมและผลิตภัณฑ์นม (โดยคณาจารย์
ของภาควิชาสัตวบาล คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์) ในประเทศไทย
นับตั้งแต่นั้นมา
36