Page 55 -
P. 55

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


                     การศึกษาวิจัยการเลี้ยงโคและการผลิตน้ำานมโคของมหาวิทยาลัย

            เกษตรศาสตร์ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากในขณะนั้นโดยความรู้ในวิธี
            การเลี้ยงโคนมที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ  คุณประโยชน์จากการบริโภคนม
            โคสด และผลิตภัณฑ์นมถูกถ่ายทอดให้กับประชาชนอย่างต่อเนื่องจนเป็นที่

            ยอมรับและส่งผลให้คนไทยปรับเปลี่ยนทัศนคติและนิยมบริโภคนมโคมาก
            ขึ้น แต่เนื่องจากการผลิตน้ำานมโค ยังมีปริมาณไม่เพียงพอต่อการบริโภคจึง

            มีการนำาเข้านมและผลิตภัณฑ์นมโคเพื่อการบริโภคอย่างต่อเนื่องทุกปี เพื่อ
            แก้ไขปัญหาดังกล่าว  รัฐบาลจึงมอบหมายให้กรมปศุสัตว์จัดตั้งสถานีบำารุง
            พันธุ์สัตว์และสถานีผสมเทียมขึ้นเพื่อพัฒนาและขยายพันธุ์โคนมให้

            เกษตรกรนำาไปเลี้ยง รวมทั้งพัฒนาวิธีการเลี้ยงและผลิตน้ำานมโคให้ถูกต้อง
            ตามหลักวิชาการ แล้วนำาไปส่งเสริมเกษตรกร ในขณะเดียวกันผลของการ

            พัฒนาประเทศได้ทำาให้ประชาชนสนใจในการบริโภคน้ำานมเพิ่มมากขึ้น จึง
            เกิดแรงจูงใจให้เกษตรกรไทยหันมาเลี้ยงโคนมเป็นอาชีพอย่างจริงจัง  และ
            ภาคเอกชนได้นำาเข้าพันธุ์โคนมจากต่างประเทศมาเลี้ยงและขยายพันธุ์เอง

            เพิ่มเติมด้วยเช่นกัน (กรมส่งเสริมสหกรณ์, 2550)

                     ต่อมา ในปี พ.ศ.2503 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล
            อดุลยเดชมหาราช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ เสด็จ

            ประพาสทวีปยุโรปซึ่งในการเสด็จครั้งนั้น ทรงประทับแรมอยู่ ณ ประเทศ
            เดนมาร์ก และทรงมีความสนพระทัยในกิจการการเลี้ยงโคนมของประเทศ

            เดนมาร์กเป็นอย่างมากจึงเป็นจุดเริ่มต้นให้เกิดความร่วมมือกันในทาง
            วิชาการด้านการเลี้ยงโคนมระหว่างประเทศไทยและประเทศเดนมาร์กโดย
            นายนิลส์ กุนนาส์ ชอนเดอร์การ์ด ชาวเดนมาร์ก ได้จัดตั้งฟาร์มโคนมและ

            ศูนย์ฝึกอบรมการเลี้ยงโคนมในประเทศไทย เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2504
            ที่อำาเภอมวกเหล็ก  จังหวัดสระบุรี  จากนั้นจึงได้มีการลงนามความร่วมมือ

            ทางวิชาการระหว่างรัฐบาลเดนมาร์ก กับรัฐบาลไทย เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม




                                                                             37
   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60