Page 49 -
P. 49
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
การขยายการยอมรับเทคโนโลยีในวงกว้างของเกษตรกร
ในขณะที่ กัมปนาท วิจิตรศรีกมลและคณะ (2556) ได้ศึกษาการ
ประเมินผลประโยชน์จากการพัฒนาสายพันธ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ โดยทั่วไป
นั้นงานวิจัยด้านข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สามารถแบ่งออกได้เป็นสองสาขา คือ สาขา
วิทยาศาสตร์การเกษตร และสาขาเศรษฐศาสตร์เกษตรและสังคม ผลงานวิจัย
สายวิทยาศาสตร์เกษตรที่เกี่ยวกับข้าวโพดเลี้ยงสัตว์นั้นเป็นงานวิจัยพื้นฐาน
เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการวิจัยคือเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
และคุณภาพผลผลิต ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์ในด้านการส่งเสริมความมั่นคงทาง
ด้านอาหารแก่ประชากร รวมถึงทำาให้เกิดเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เกี่ยวกับการผลิต
เก็บเกี่ยว และการเก็บรักษาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ในขณะที่ด้านโครงสร้างผล
งานวิจัยสาขาเศรษฐศาสตร์เกษตรและสังคมนั้น มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย
เพื่อพัฒนาและเผยแพร่ความรู้ทางเศรษฐกิจและการตลาดเป็นหลัก และมี
ประโยชน์ในด้านการช่วยบรรเทาความยากจนและเพิ่มการกระจายรายได้
ของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นหลัก โดยผลการศึกษาในส่วนของ
การประเมินผลประโยชน์จากงานวิจัยระบุว่า การวิจัยพัฒนาปรับปรุงพันธุ์
ข้าวโพด “สุวรรณ 1” ก่อให้เกิดผลประโยชน์คิดเป็นมูลค่าปัจจุบันสุทธิในปี พ.ศ.
2509 สูงถึง 4,652 ล้านบาท และหากคิดเป็นมูลค่าปัจจุบันสุทธิ ณ ปี พ.ศ.
2556 จะมีมูลค่าสูงเพิ่มขึ้นอีก 10 เท่า หรือคิดเป็นมูลค่า 46,082 ล้านบาท
นอกจากนี้ อัตราส่วนของผลประโยชน์ต่อต้นทุนยังแสดงถึงความคุ้มค่าของ
การลงทุนวิจัยที่ให้ผลตอบแทนประมาณ 66 เท่าของต้นทุนการทำาวิจัย และ
เมื่อพิจารณาอัตราผลตอบแทนภายในจากการลงทุนวิจัยแล้ว พบว่า ให้ผล
ตอบแทนสูงถึงเกือบร้อยละ 70
นอกจากนี้ ยังมีหน่วยงานภาครัฐบางหน่วยงานได้ประเมินผลประโยชน์
จากงานวิจัยภายใต้การดำาเนินงานของหน่วยงานตนเอง ดังเช่น สมพร อิศวิลา
นนท์ สุวรรณา ประณีตวตกุล และกัมปนาท วิจิตรศรีกมล (2548) ได้ประเมิน
31