Page 48 -
P. 48
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ความยากจนและการกระจายรายได้เป็นสำาคัญ รองลงมาได้แก่การทดแทน
การนำาเข้า การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การสร้างความมั่นคงด้านอาหาร และ
การสนับสนุนการส่งออก รวมถึงมีจำานวนโครงการวิจัยจำานวนมากได้นำาไป
สู่การพบเทคโนโลยี และเกษตรกรเป็นกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับประโยชน์จาก
เทคโนโลยีใหม่นั้นสูงที่สุด รองลงมาได้แก่ผู้ประกอบธุรกิจ ผู้บริโภค และผู้
กำาหนดนโยบายตามลำาดับ ซึ่งงานวิจัยบางโครงการมีศักยภาพในการจดทะเบียน
ทรัพย์สินทางปัญญา รวมถึงก่อให้เกิดผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ
และสังคม โดยสามารถประเมินผลประโยชน์สุทธิทางเศรษฐกิจเมื่อคิดเป็น
มูลค่าปัจจุบันจะมีมูลค่ารวมเท่ากับ 8.91 ล้านบาท
นอกจากนี้ ยังมีงานวิจัยของสุวรรณา ประณีตวตกุล (2552) ที่ได้
ประเมินผลกระทบทางเศรษฐศาสตร์ของงานวิจัยควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี
โดยในการศึกษาได้ใช้ข้อมูลจากการสำารวจภาคสนามร่วมกับข้อมูลทุตยภูมิที่
รวบรวมจากทุกภูมิภาคของประเทศไทยนอกจากนี้ ยังมีการวิเคราะห์โดย
ใช้แบบจำาลองโลจิทและการวิเคราะห์ส่วนเกินทางเศรษฐกิจซึ่งผลการ
ศึกษาพบว่าผลประโยชน์ที่เกิดแก่สังคมประกอบด้วยความรู้ทางวิชาการที่
เผยแพร่และถ่ายทอดสู่สาธารณะการพัฒนาเทคโนโลยีและผลประโยชน์
ทางเศรษฐกิจจากโครงการวิจัยย่อยซึ่งก่อให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจโดย
รวมประมาณ 4.2 ล้านบาท นอกจากนี้ การประเมินผลประโยชน์จากงาน
วิจัยบางโครงการยังแสดงให้เห็นถึงการยอมรับเทคโนโลยีของเกษตร ดังเช่น
งานวิจัยของ สมพร อิศวิลานนท์ และสุวรรณา ประณีตวตกุล (2551)
ที่ได้มีการประเมินผลกระทบของชุดโครงการการจัดการธาตุอาหารพืช
ประเภทข้าวและอ้อยในพื้นที่ นอกจากนี้ ผลการประเมินพบว่า การยอมรับ
เทคโนโลยีของเกษตรกรสามารถช่วยลดต้นทุนต่อไร่ในการเพาะปลูกได้
ซึ่งผลการประเมินประโยชน์ของงานวิจัยดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงความคุ้มค่า
ในการลงทุนวิจัย รวมถึงการให้ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่เพิ่มมากขึ้นเมื่อมี
30