Page 15 -
P. 15
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
6 ห้าทศวรรษการพัฒนา
พันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศไทย
การประสานงานของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในขณะนั้น ได้มอบหมายให้
ดร.สุจินต์ จินายน และดร.สุทัศน์ ศรีวัฒนพงศ์ เป็นผู้ร่วมโครงการ โดยที่ทางมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์
ได้ส่ง ดร.ชาลส์ มัวร์ และ ดร.สุริน เดอร์วาซัล เข้ามาช่วยงานโครงการนี้ ภายใต้ความร่วมมือ
ของกรมวิชาการเกษตรอีกทางหนึ่ง ทั้งนี้ งานที่เริ่มต้นนั้น ฝ่ายไทยมี ดร.สุทัศน์ ศรีวัฒนพงศ์
ทำาหน้าที่รักษาการหัวหน้าโครงการ โดยงานสำาคัญเริ่มแรก คือ การปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพด
ให้มีฐานทางพันธุกรรมกว้าง โดยนำาพันธุ์ข้าวโพดที่ได้รับจากศูนย์วิจัยข้าวโพดและข้าวสาลี
นานาชาติ (CIMMYT Maize Program) จำานวน 36 พันธุ์ มาดำาเนินการผสมพันธุ์แบบพบกัน
หมด เพื่อให้พันธุ์ข้าวโพดทั้งหมดกลมกลืนเป็นพันธุ์เดียวกันตามวิธีการพัฒนาพันธุ์ผสมรวม
หลังจากดำาเนินการได้ 3 ฤดูปลูก และพบว่า พันธุ์มีความกลมกลืนพอควรแล้ว จึงใช้ชื่อพันธุ์ว่า
“ไทยคอมโพสิต เบอร์ 1” (Thai composite #1)
้
หลังจากนั้น ในปี พ.ศ. 2511 ได้เกิดโรครานำาค้างระบาดรุนแรงทั่วประเทศ ซึ่งแม้แต่
“พันธุ์กัวเตมาลา” ที่กรมวิชาการเกษตรพัฒนาขึ้นมาและนิยมปลูกกันแพร่หลายทั่วประเทศ
้
ก็ไม่สามารถต้านทานโรครานำาค้างนี้ได้ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2513 ดร.สุจินต์ จินายน ซึ่งกลับ
จากการไปร่วมงานวิจัยข้าวโพดที่ศูนย์วิจัยข้าวโพดและข้าวสาลีนานาชาติ ประเทศเม็กซิโก
ได้กลับมาเป็นหัวหน้าโครงการปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ร่วมกับ
คณะวิจัยชุดเดิมที่ได้ทุ่มเทพัฒนาพันธุ์ผสมรวมขึ้น โดยการนำาพันธุ์ไทยคอมโพสิตเบอร์ 1 มาผสม
้
กับพันธุ์ต้านทานโรครานำาค้างจากประเทศฟิลิปปินส์ จำานวน 2 พันธุ์ และทำาการคัดเลือกติดต่อ
กันหลายปี จนเกิดพันธุ์ผสมรวมใหม่ในปี พ.ศ. 2515 ที่มีลักษณะดีมากยิ่งขึ้นในการต้านทาน
้
โรครานำาค้าง ให้ผลผลิตสูง และเรียกพันธุ์นี้ว่า “พันธุ์สุวรรณ 1” เพื่อเป็นเกียรติแก่หลวง
สุวรรณวาจกกสิกิจ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งพันธุ์นี้ได้รับความนิยมอย่าง
้
แพร่หลาย และสามารถช่วยบรรเทาการระบาดของโรครานำาค้างได้ดี และจัดได้ว่าเป็นพันธุ์ที่
นิยมปลูกกันมากในประเทศเขตร้อนทั่วโลกในอดีต รวมถึงมีการนำาไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนา
พันธุ์ต่อไปได้หลายรูปแบบ เช่น การใช้พัฒนาต่อเป็นพันธุ์อายุสั้น ได้แก่ พันธุ์สุวรรณ 2 และ
พันธุ์ผสมเปิดอื่นอีกหลายพันธุ์ รวมทั้งการนำามาสกัดเป็นสายพันธุ์แท้จำานวนมาก ซึ่งสายพันธุ์
้
แท้เหล่านี้มีลักษณะเด่น คือ ต้านทานโรครานำาค้าง ซึ่งบริษัทของผู้ประกอบการต่างชาตินิยม
นำาไปใช้เป็นพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ในการพัฒนาลูกผสม และเป็นจุดเริ่มต้นของการวิจัยและพัฒนา
พันธุ์ข้าวโพดของไทยอย่างมีนัยสำาคัญ (สุทัศน์ ศรีวัฒนพงศ์, 2553)
2.1.2 ก�รปรับปรุงพันธุ์ยุคแรก
การปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในยุคแรกนั้น เริ่มต้นในปี พ.ศ. 2493 ภายใต้โครงการ
ร่วมมือกันระหว่างประเทศไทยและสหรัฐอเมริกา ในโครงการพัฒนาพืชไทยยูซอม (Thai USOM
Crop Development Project) โดยมีศาสตราจารย์ เอช.เอช.เลิฟ (H.H. Love) อาจารย์จาก
ภาควิชาปรับปรุงพันธุ์พืช มหาวิทยาลัยคอร์เนล ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นหัวหน้าโครงการ
โดยมีมิสเตอร์ เอช. รีม (H. Ream) เป็นที่ปรึกษา ซึ่งมิสเตอร์รีมได้นำาข้าวโพดพันธุ์ผสมเปิด มี
รหัสพันธุ์ว่า C-110 จากสถาบันเขตร้อน ตั้งอยู่ที่เมืองแอนติกัว ประเทศกัวเตมาลา มาทดสอบใน
ประเทศไทยในปี พ.ศ. 2496 พบว่า ได้ผลผลิตสูง จึงได้ขยายพันธุ์นี้ และกรมกสิกรรม (ปัจจุบัน
คือ กรมวิชาการเกษตร) ได้ส่งเสริมข้าวโพดพันธุ์นี้ให้เกษตรกรปลูกในปี พ.ศ. 2497 โดยเรียก
ชื่อว่า “พันธุ์กัวเตมาลา” นอกจากนี้ ได้ตั้งหน่วยทดลองพืชไร่ที่นิคมสร้างตนเองพระพุทธบาท