Page 16 -
P. 16
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
บทที่ 2 ห้าทศวรรษ: การพัฒนาพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของไทย 7
จังหวัดลพบุรี เพื่อการวิจัยและขยายพันธุ์ข้าวโพด (เจริญศักดิ์ โรจนฤทธิ์พิเชษฐ์ และพีระศักดิ์
ศรีนิเวศน์, 2529: 119-120)
อย่างไรก็ตาม งานปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดของประเทศไทยได้เริ่มอย่างจริงจังประมาณปี
พ.ศ. 2509 เป็นปีที่เริ่มพัฒนาไร่สุวรรณ (อดีตเป็นไร่ของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ตั้งอยู่ที่ อำาเภอ
ปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ต่อมารัฐบาลยกให้กับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์) เพื่อให้เป็น
ศูนย์วิจัยข้าวโพดข้าวฟ่างแห่งชาติในปี พ.ศ. 2512 โดยมีกรมวิชาการเกษตรและมหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร์ เป็นหน่วยงานที่เริ่มโครงการปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพด ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2494 และปี
พ.ศ. 2501 ตามลำาดับ แต่งานในระยะแรกก่อนปี พ.ศ. 2509 มักจะไม่ต่อเนื่อง และไม่ประสบความ
ก้าวหน้านัก เนื่องจากสาเหตุหลายประการ ได้แก่ การขาดสถานีที่ดีสำาหรับทำาการทดสอบพันธุ์
ต่างๆ ที่นำามาทดสอบไม่เหมาะสมกับประเทศไทย ความขาดแคลนเจ้าหน้าที่ และนักวิชาการ
ที่มีประสบการณ์ทางด้านนี้และการนำาเชื้อพันธุกรรมข้าวโพดจากสถาบันต่างๆ จากประเทศ
อื่นเข้ามาใช้ยังมีอยู่ไม่มากนัก ซึ่งข้าวโพดไม่ใช่พืชที่มีถิ่นกำาเนิดในแถบประเทศไทย ดังนั้น
เชื้อพันธุกรรมที่จะเป็นวัตถุดิบในการสร้างพันธุ์ใหม่มีอยู่น้อย ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่เป็นข้อจำากัด
ของงานปรับปรุงพันธุ์
้
อีกทั้ง ในปี พ.ศ. 2511 ได้เกิดโรครานำาค้างระบาดรุนแรงทั่วประเทศ ซึ่งพันธุ์กัวเตมาลา
ไม่อาจต้านทานโรคนี้ได้ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จึงได้มีวัตถุประสงค์ที่จะสร้างข้าวโพดพันธุ์
ผสมเปิดที่ปรับปรุงแล้วให้มีเมล็ดสีเหลืองแบบหัวแข็งสำาหรับปลูกเป็นการค้า ซึ่งพันธุ์ที่ต้องการ
นี้จะต้องให้ผลผลิตและคุณภาพดีกว่าพันธุ์กัวเตมาลาที่เกษตรกรปลูกอยู่ โดยมีความต้านทาน
ต่อโรคแมลง รวมถึงการหักล้ม ทนแล้ง และมีการตอบสนองต่อปุ๋ยในระดับปุ๋ยอัตราปานกลาง
และอัตราสูง ตลอดจนต้องมีอายุสั้นด้วย
ในปี พ.ศ. 2509 ทีมนักวิจัยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ และโครงการ
ข้าวโพดภูมิภาคเอเชีย (Inter-Asian Corn Program หรือ IACP) ได้ย้ายศูนย์กลางจากประเทศ
อินเดียมายังประเทศไทย ทำาให้ไร่สุวรรณได้รับการพัฒนาให้เป็นรากฐานแห่งความสำาเร็จของ
การวิจัยข้าวโพดและข้าวฟ่างไม่เฉพาะแต่ในประเทศไทย แต่รวมถึงประเทศต่างๆ ในภูมิภาคนี้
ด้วย ทำาให้ไร่สุวรรณเป็นสถานีวิจัยชั้นหนึ่งในภูมิภาคนี้ โครงการได้ดำาเนินไปโดยนำาพันธุ์ต่างๆ
มาทดสอบดูการปรับตัวและศักยภาพของผลผลิตตลอดจนทำาลูกผสมระหว่างพันธุ์ (varietal
hybrid) เพื่อดูความดีเด่นของลูกผสม [เฮทเทอโรซิส (heterosis)] และหาแนวทางที่จะทำาการ
คัดเลือกปรับปรุงภายในพันธุ์ต่อไปในอนาคต
2.1.3 ก�รพัฒน�จ�กพันธุ์ไทยคอมโพสิตเป็น สุวรรณ 1 และสุวรรณ 2
้
จากเหตุการณ์ที่ได้เกิดโรครานำาค้างขึ้น ในปี พ.ศ. 2509 และระบาดหนักในปี พ.ศ.
2511 ทางคณะปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้มีนโยบายใหม่ออกมาใน
ปี พ.ศ. 2512 เพื่อตัดสินใจสร้างพันธุ์ที่ซับซ้อนในรูปของคอมโพสิตของข้าวโพดขึ้นโดยให้มี
ฐานพันธุกรรมกว้าง เพื่อใช้สำาหรับคัดเลือกเพื่อให้ได้พันธุ์ที่ดี และให้ผลผลิตสูงภายหลัง ยุทธวิธี
ดังกล่าวเป็นแนวความคิดที่จะสร้างพันธุ์ใหม่ให้ดีกว่าพันธุ์กัวเตมาลา และได้พันธุ์คอมโพสิตที่
ชื่อว่า ไทยคอมโพสิตเบอร์ 1 (Thai Composite#1) ซึ่งเป็นต้นกำาเนิดของข้าวโพดพันธุ์สุวรรณ
1 พันธุ์สุวรรณ 2 และพันธุ์ลูกผสมสุวรรณ 2301
พันธุ์ไทยคอมโพสิตเบอร์ 1 เกิดจากการรวมพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลากหลายสายพันธุ์
และหลากหลายแหล่งกำาเนิดที่เป็นประโยชน์ในทางพันธุกรรมและในด้านเศรษฐกิจโดยทางไร่