Page 14 -
P. 14

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                            บทที่ 2 ห้าทศวรรษ: การพัฒนาพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของไทย  5



               ให้เกษตรกรปลูก ในปี พ.ศ. 2496 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ และ
               ส่งออกจำาหน่ายต่างประเทศ ทำาให้ผลผลิตของข้าวโพดเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะภายหลัง
               สงครามโลกครั้งที่สอง
                     อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลของสุทัศน์ ศรีวัฒนพงศ์ (2553) ระบุว่า ถึงแม้ได้มีการส่งเสริม
               การปลูกพืชไร่และข้าวโพดกันในระยะก่อนสงครามโลกครั้งที่สองบ้างก็ตาม แต่ปริมาณการ
               ปลูกข้าวโพดในช่วงนั้นมิได้เพิ่มขึ้นอย่างมากมายจนถึงเป็นพืชสำาคัญ ต่อมาเมื่อสงครามโลกครั้ง
               ที่สองยุติลงในปี พ.ศ. 2488 พื้นที่การปลูกข้าวโพดได้ขยายเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะใน
               ระยะหลังจากปี พ.ศ. 2498 เป็นต้นมา

                     ทั้งนี้ ในปี พ.ศ. 2504 กรมวิชาการเกษตรได้ปรับปรุงพันธุ์กัวเตมาลาที่สถานีกสิกรรม
               พระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี จนทำาให้เกิดพันธุ์ใหม่ คือ พันธุ์พระพุทธบาท 1 ในปี พ.ศ. 2507
               โดยนำามาขยายพันธุ์ตลอดจนส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกและพัฒนาพันธุ์อย่างต่อเนื่องจนสามารถ
                                                                                 ่
               ได้พันธุ์พระพุทธบาท 12 ในปี พ.ศ. 2517 ซึ่งเป็นพันธุ์ที่มีผลผลิตสูงและค่อนข้างสมำาเสมอ
               ประมาณ 415-600 กิโลกรัมต่อไร่
                                            ้
                     ในปี พ.ศ. 2516 ได้เกิดโรครานำาค้าง (downy mildew) ระบาดอย่างรุนแรง เป็นผลให้
                                                                                 ้
               ผลผลิตลดลงประมาณร้อยละ 40 ซึ่งในสมัยนั้นยังไม่มีพันธุ์ที่สามารถต้านทานโรครานำาค้างนี้
               ได้ หลังจากนั้น โครงการปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ทำาการวิจัยและ
               พัฒนาพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ “พันธุ์สุวรรณ 1” ซึ่งได้รับการรับรองเป็นพันธุ์มาตรฐานอย่าง
               เป็นทางการในปี พ.ศ. 2517 ว่ามีผลผลิตสูงกว่าพันธุ์พระพุทธบาท และพันธุ์อื่นๆ รวมถึง
                               ้
               ต้านทานต่อโรครานำาค้างได้ดีมาก โดยเริ่มพัฒนาพันธุ์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2509 เป็นต้นมา ซึ่งพันธุ์
               ดังกล่าว เกษตรกรนิยมปลูกและแพร่หลายไปอย่างรวดเร็ว จนอาจเรียกได้ว่า ในช่วง 15 ปี
               ให้หลัง เกษตรกรปลูกข้าวโพดพันธุ์สุวรรณ 1 ถึงร้อยละ 80-90 ของพื้นที่ปลูกทั้งหมดในประเทศ
               จึงนับว่า ข้าวโพดพันธุ์นี้มีบทบาทต่อการเพิ่มผลผลิตข้าวโพดของประเทศไทยอย่างแท้จริง
               (สถาบันอินทรีจันทรสถิตย์เพื่อการค้นคว้าและพัฒนาด้านพืชศาสตร์, 2536)


               2.1.1 ยุคบุกเบิกก�รวิจัยและพัฒน�พันธุ์ข้�วโพดเลี้ยงสัตว์ไทย
                     ข้าวโพดพันธุ์สุวรรณ 1 นับเป็นจุดเริ่มต้นของการปรับปรุงพันธุ์สู่การเป็นธุรกิจเมล็ด
               พันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของไทย ความสำาเร็จดังกล่าวเกิดขึ้นจากมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ ได้ย้าย
               สำานักงานใหญ่จากประเทศอินเดียมายังประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2509 พร้อมกับการผลักดัน
               ให้เกิด “โครงการความร่วมมือข้าวโพดและข้าวฟ่างในภูมิภาคเอเชีย” (Inter Asian Corn
               Sorghum Program) ขึ้นในประเทศไทย ภายใต้ความร่วมมือในการดำาเนินงานระหว่าง
               มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรมวิชาการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร มูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์
               และศูนย์วิจัยข้าวโพดและข้าวสาลีนานาชาติ (CIMMYT) โครงการวิจัยดังกล่าว ได้ใช้ศูนย์วิจัย
               ข้าวโพดและข้าวฟ่างแห่งชาติ อำาเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา เป็นสถานีในการดำาเนิน
               โครงการ เนื่องจากมีความพร้อมสำาหรับใช้เป็นแปลงทดลองวิจัยที่มีระบบชลประทาน รวม
               ถึงสิ่งอำานวยความสะดวกในการดำาเนินงาน และเป็นสถานที่ฝึกอบรมบุคลากรทั้งในประเทศ
               และต่างประเทศ ในฐานะศูนย์ชั้นหนึ่งของภูมิภาคเอเชีย (Sriwatanapongse et al., 1993)
   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19