Page 17 -
P. 17

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

            8     ห้าทศวรรษการพัฒนา
                  พันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศไทย


           สุวรรณได้รวบรวมได้ทั้งหมด 36 สายพันธุ์ที่มีลักษณะแตกต่างกันและมีคุณสมบัติสำาคัญ คือ
           1) เป็นพันธุ์ดี ให้ผลผลิตสูง จากรายงานของนักปรับปรุงพันธุ์จากประเทศต่างๆ 2) สามารถ
           ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมของประเทศไทยได้ดีและ 3) มีความแตกต่างกัน (diversity)
           โดยถิ่นกำาเนิด เพื่อให้ได้พันธุ์ที่มีฐานพันธุกรรมกว้าง และใช้สำาหรับเลือกพันธุ์ดีและให้ผลผลิต
           สูง ซึ่งพันธุ์ข้าวโพดที่รวบรวม อาจจัดแบ่งได้เป็น 5 กลุ่มตามแหล่งที่มา ดังนี้
                1. พันธุ์ส่วนมาก (16 พันธุ์) มาจากหมู่เกาะคาริบเบียน (Caribbean Islands หรือ West
                 Indies) ซึ่งประกอบด้วยพันธุ์ต่างๆ จาก race Argentino, Tuson, Carilla และ
                 Criollo
                2. พันธุ์จากประเทศเม็กซิโกและอเมริกากลาง จำานวน 6 พันธุ์ ซึ่งเป็นพันธุ์ดีจาก race
                 Tuxpeno 4 พันธุ์ ส่วนที่เหลือเป็นพันธุ์จาก race Salvadoreno และ Argentino-
                 Criollo
                3. พันธุ์จากอเมริกาใต้จำานวน 5 พันธุ์ ซึ่งมาจาก race Northern Cateto, Cuban
                 Yellow Dent, Argentino-Criollo และ Tuson
                4. พันธุ์ที่มีฐานทางพันธุกรรมจากโครงการประสานงานข้าวโพด ประเทศอินเดีย จำานวน
                 5 พันธุ์
                5. พันธุ์ที่เหลืออีก 4 พันธุ์ เป็นพันธุ์ที่มาจาก race Tuxpeno-Caribbean และพันธุ์
                 จากสหรัฐอเมริกา
                การพัฒนาพันธุ์ไทยคอมโพสิตจนกลายเป็นพันธุ์สุวรรณ 1 และพันธุ์สุวรรณ 2 ดำาเนิน
           การโดยการคัดเลือกแบบวงจร (Recurrent Selection) ที่ใช้ระบบการคัดเลือกตระกูล S 1 (S 1
           Family Selection หรือ S  Recurrent Selection) เพื่อยกระดับผลผลิตและลักษณะอื่นๆ ที่
                               1
           เป็นที่ต้องการของตลาด ซึ่งเริ่มตั้งแต่ต้นฤดูฝนปี พ.ศ. 2513 จนได้พันธุ์ไทยคอมโพสิตเบอร์ 1
           (S) C  และได้ทำาการทดสอบผลผลิตในปี พ.ศ. 2515 จาก 24 การทดลองในประเทศ ปรากฏว่า
               2
           ให้ ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์กัวเตมาลาถึง 131 กิโลกรัมต่อไร่ หรือมากกว่าร้อยละ 20 (ตารางที่ 2.1)
                                         ่
           ทั้งอายุสั้นกว่า ต้นเตี้ยกว่า การหักล้มก็ตำากว่าพันธุ์กัวเตมาลา (เจริญศักดิ์ โรจนฤทธิ์พิเชษฐ์ และ
           พีระศักดิ์ ศรีนิเวศน์, 2529) และไม่ใช่จะดีเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น แต่เมื่อทำาการทดสอบ
           ร่วมกับประเทศต่างๆ ในเอเชีย 11 ประเทศ จาก 19 ท้องที่ ร่วมกับพันธุ์ของประเทศต่างๆ
           ที่ส่งเข้าร่วมทดสอบทั้งหมด 18 พันธุ์ ในปี พ.ศ. 2515 โดยโครงการข้าวโพดระหว่างภูมิภาค
           เอเชีย (Inter-Asian Corn Program) ซึ่งปรากฏว่าพันธุ์นี้ให้ผลผลิตมาเป็นอันดับที่ 1 อีก และ
           ผลผลิตของพันธุ์กัวเตมาลามาเป็นอันดับที่ 11 ดังแสดงในตารางที่ 2.1

            ต�ร�งที่ 2.1 ผลผลิตของพันธุ์ไทยคอมโพสิตเบอร์ 1 (S) C  ในเอเชีย
                                                            2
                                 พันธุ์                     ผลผลิต (กก./ไร่)   อันดับ
             ไทยคอมโพสิตเบอร์ 1 (S) C                            803         1
                              2
             ยูพีซีเอ วาร์1 (UPCA VAR.1) (ฟิลิปปินส์)            647         13
             โบกกอร์คอมพ์.2 (Bogor Comp.2) (อินโดนีเซีย)         722         7
             เจเอ็มแอล 305 (JML 305) (อินเดีย)                   748         5
             ทักซ์เปนโย แพลนตา บาจา (TuxpenoPlanta Baja) (CIMMYT)   692      12
             กัวเตมาลา พีบี 5 (ไทย)                              708         11
           ที่มา : เจริญศักดิ์ โรจนฤทธิ์พิเชษฐ์ และ พีระศักดิ์ ศรีนิเวศน์ (2529)
   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22