Page 13 -
P. 13

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว




                                                                  บทที่



                        ห้าทศวรรษ:                               2



           การพัฒนาพันธุ์ข้าวโพด


                         เลี้ยงสัตว์ของไทย







                                    ในบทนี้จะนำ�เสนอภ�พรวมของก�รพัฒน�พันธุ์
                             ข้�วโพดเลี้ยงสัตว์ของไทย เพื่อเป็นคว�มรู้และสร้�งคว�มเข้�ใจ
                             เบื้องต้นของพัฒน�ก�รก�รปรับปรุงพันธุ์ โดยจะเริ่มนับตั้งแต่

                             ยุคบุกเบิกของก�รพัฒน� จนถึงก�รกำ�เนิด ก�รขย�ย และก�ร
                             ใช้ประโยชน์พันธุ์ข้�วโพดเลี้ยงสัตว์ “สุวรรณ 1” ซึ่งถือได้ว่�
                             เป็นร�กฐ�นแห่งก�รพัฒน�อุตส�หกรรมก�รผลิตเมล็ดพันธุ์

                             ข้�วโพดเลี้ยงสัตว์และอุตส�หกรรมก�รผลิตข้�วโพดเลี้ยงสัตว์
                             ที่สำ�คัญของไทยจวบจนปัจจุบัน


           2.1  จ�กยุคบุกเบิกสู่พัฒน�ก�รปรับปรุงพันธุ์ข้�วโพดเลี้ยงสัตว์

                ข้าวโพด จัดเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำาคัญต่ออุตสาหกรรมการผลิตอาหารสัตว์ และ
           อุตสาหกรรมเลี้ยงสัตว์ของไทยอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด จากหลักฐานที่ปรากฏ พบว่า ข้าวโพด
           เป็นพืชดั้งเดิมของสหรัฐอเมริกา ซึ่งนำาเข้ามาปลูกในประเทศไทยประมาณ 300-400 ปีก่อน โดย
           พ่อค้าชาวโปรตุเกส ซึ่งตรงกับสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ประมาณปี พ.ศ. 2230-2231
           ในลักษณะของการปลูกในสวนหลังบ้านเพื่อรับประทานฝักสด จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2475 หม่อม
           เจ้าสิทธิพร กฤษฎากร ได้สั่งข้าวโพด 2 พันธุ์จากสหรัฐอเมริกา มาทดลองปลูกที่ฟาร์มบางเบิด
           อำาเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ คือ พันธุ์นิโคลสันส์ เยลโลเด้นท์ (Nicholson’s
           Yellow Dent) ซึ่งมีเมล็ดสีเหลืองหัวทุบ และพันธุ์เม็กซิกันจูน (Mexican June) ที่มีเมล็ดสีขาว
           หัวบุบ ซึ่งข้าวโพดทั้งสองพันธุ์ดังกล่าว เจริญเติบโตและปรับตัวได้ดีกับประเทศไทย หลังจาก
           นั้นได้มีการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกเชิงการค้า ในพื้นที่จังหวัดสระบุรี ลพบุรี และนครราชสีมา
           และขยายพื้นที่กว้างขวางขึ้นในปีต่อๆ มา (Sriwatanapongse et al., 1993)

                ความสำาเร็จขั้นแรกของการปลูกข้าวโพดในประเทศไทยเริ่มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เมื่อ
           กรมกสิกรรม (กรมวิชาการเกษตร ในปัจจุบัน) ได้นำาเข้าข้าวโพดพันธุ์ทิกิสาเต โกลเดน เยลโลว์
           (Tiquisate Golden Yellow) หรือที่เรียกว่า พันธุ์กัวเตมาลา มาปลูกและขยายพันธุ์แนะนำา
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18