Page 11 -
P. 11
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
2 ห้าทศวรรษการพัฒนา
พันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศไทย
หนึ่งที่ผู้กำาหนดนโยบายภาครัฐและผู้เกี่ยวข้องในภาคเอกชนสมควรพิจารณาต่อยอดในการวาง
นโยบายเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ต่อไป
นอกจากนั้น ในปัจจุบันความต้องการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศยังเพิ่มสูงขึ้น โดย
สำานักงานเศรษฐกิจการเกษตร (2553) รายงานว่า ในปีเพาะปลูก 2553/54 ความต้องการใช้
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศมีสูงถึง 4.58 ล้านตัน ในขณะที่กำาลังการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
ทั้งหมดของประเทศมีเพียง 4.46 ล้านตัน และหากพิจารณาในช่วงระยะเวลา 2 ทศวรรษ
(ปี พ.ศ. 2535-2553) ที่ผ่านมา ประเทศไทยมีความต้องการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เพิ่มสูงขึ้นโดย
เฉลี่ยร้อยละ 1.99 ต่อปี ในขณะที่ผลผลิตภายในประเทศเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1.47 ต่อปี ทำาให้
ประเทศไทยกำาลังประสบกับภาวะการณ์ขาดแคลนข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ซึ่งสาเหตุนั้น นอกจาก
เกิดจากการที่ผลผลิตลดลงจากภัยธรรมชาติแล้ว ยังพบว่ามีการส่งออกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ไปยัง
ต่างประเทศอีกด้วย เนื่องจากราคาข้าวโพดในตลาดโลกอยู่ในระดับที่สูงกว่าราคาภายใน
ประเทศ อันเป็นผลมาจากภาวะความต้องการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของโลกที่เพิ่มสูงขึ้น
โดยเฉพาะในประเทศสหรัฐอเมริกาและจีน ซึ่งเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ของโลกได้นำาข้าวโพด
้
เลี้ยงสัตว์เป็นวัตถุดิบสำาหรับการผลิตเอทานอลเพื่อใช้เป็นพลังงานทางเลือก เพื่อทดแทนนำามัน
ปิโตรเลียมที่มีระดับราคาเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ปัจจัยอีกประการหนึ่งที่เป็นอุปสรรคต่อการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศได้แก่
แนวโน้มการขยายตัวของพื้นที่เพาะปลูกพืชแข่งขันมีอัตราเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดย เอมอร
อังสุรัตน์ และคณะ (2555) ได้ชี้ให้เห็นว่า ขณะที่ปริมาณผลผลิตโดยรวมและผลผลิตต่อไร่ของ
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มีแนวโน้มสูงขึ้นก็ตาม แต่ขนาดพื้นที่เพาะปลูกกลับมีแนวโน้มลดลงในช่วง
สองทศวรรษที่ผ่านมา ทั้งนี้ เนื่องจากราคาขายพืชแข่งขันที่สำาคัญ เช่น ยางพารา อ้อย และ
มันสำาปะหลัง เป็นต้น มีมูลค่าสูงกว่าราคาขายข้าวโพดอย่างมีนัยสำาคัญ ทำาให้การใช้ที่ดินเพื่อ
เพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มีแนวโน้มลดลง โดยในปี พ.ศ. 2553 มีพื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
อยู่ที่ 7.12 ล้านไร่ ภายใต้อัตราการขยายตัวเพียงร้อยละ 0.24 ต่อปี ในขณะที่พื้นที่ปลูกยางพารา
ทั่วประเทศมีถึง 17.96 ล้านไร่ และมีอัตราการขยายตัวร้อยละ 4.09 ต่อปี ส่วนอ้อยนั้น มีพื้นที่
ปลูกทั้งหมด 6.31 ล้านไร่ และมีอัตราการขยายตัวร้อยละ 4.77 ต่อปี เช่นกัน
การที่ประเทศไทยจะเข้าร่วมเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic
Community: AEC) ในปี พ.ศ. 2558 นั้น อุตสาหกรรมการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จำาเป็นต้อง
มีการปรับตัวให้ทันต่อสภาวะการเปลี่ยนแปลงไม่ว่าจะเป็นการเผชิญกับมาตรการปลอดภาษี
นำาเข้าผลผลิตทางการเกษตรระหว่างประเทศสมาชิก ปัญหาการเคลื่อนย้ายปัจจัยการผลิต
ทางการเกษตร เช่น แรงงานภาคเกษตร โดยเสรีทั้งในภาคการเกษตรเอง และการเคลื่อน
ย้ายจากภาคเกษตรไปสู่ภาคนอกเกษตร สภาวะการผลิตและการตลาดของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์