Page 12 -
P. 12
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
บทที่ 1 อรัมภบท 3
ระหว่างประเทศสมาชิก กอปรกับข้อจำากัดของกฎหมายคุ้มครองพันธุ์พืชของไทยที่ยังมิได้
ถูกปรับปรุงให้สอดรับกับสถานการณ์ปัจจุบันและการก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจ
อาเซียน เป็นต้น ซึ่งจะเห็นได้ว่า ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ที่เป็นผลพวงมาจากการรวมตัวทาง
เศรษฐกิจมีแนวโน้มที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบอย่างมีนัยสำาคัญต่อการพัฒนาสายพันธุ์และ
อุตสาหกรรมการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของประเทศไทยได้ ดังนั้น ผู้กำาหนดนโยบายและ
ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องจำาเป็นต้องพิจารณาและให้ความสำาคัญเป็นลำาดับต้น
สำาหรับประเด็นเกี่ยวกับการประเมินผลประโยชน์ของงานวิจัยด้านการพัฒนาสายพันธุ์
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศไทยยังมิได้มีผู้ทำาการศึกษาไว้อย่างเป็นระบบ ซึ่งการศึกษาใน
ประเด็นเหล่านี้ถือว่ามีความสำาคัญต่อเศรษฐกิจการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และความมั่นคง
ของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมเลี้ยงสัตว์และการผลิตอาหารสัตว์
ของประเทศไทยอย่างมีนัยสำาคัญ โดยในการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเป็นการ
ประมวล ทบทวน และสังเคราะห์เอกสารที่เกี่ยวข้องรวมถึงการสัมภาษณ์เชิงลึกจากนักวิจัยและ
ผู้ทรงคุณวุฒิในวงการข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
นอกจากนี้ ประเด็นการวิเคราะห์ยังครอบคลุมถึงการประเมินผลประโยชน์ที่เกิดขึ้น
(Research Spillover Effects) จากงานวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ รวมถึง
ผลกระทบที่เกิดจากการขยายตัวของพืชแข่งขัน และนโยบายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับข้าวโพด
เลี้ยงสัตว์ ตลอดจนวิเคราะห์แนวโน้มของผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่ออุตสาหกรรมการผลิต
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของไทยจากการรวมตัวทางเศรษฐกิจของประเทศสมาชิกในประชาคม
อาเซียน (AEC)