Page 22 -
P. 22
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
บทที่ 2 ห้าทศวรรษ: การพัฒนาพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของไทย 13
จากข้อมูลข้างต้นเห็นได้ว่า 10 ปีหลังจากที่พันธุ์สุวรรณ 1 เริ่มประกาศเป็นทางการแล้ว
พันธุ์สุวรรณ 1 จัดเป็นพันธุ์ที่เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดส่วนใหญ่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย แต่
ข้อมูลการใช้พันธุ์ดังกล่าวที่แท้จริงไม่ปรากฏชัดเจน จากการสอบถามผู้ที่เกี่ยวข้อง สรุปว่า ใน
ขณะนั้นข้าวโพดที่ปรากฏทั่วไปเป็นข้าวโพดพันธุ์สุวรรณ 1 ทั้งหมด ยกเว้นไร่ที่อยู่ตามป่าลึก
เท่านั้น (เจริญศักดิ์ โรจนฤทธิ์ และพีระศักดิ์ ศรีนิเวศน์, 2529: 144) ภายหลังปี พ.ศ. 2517
เป็นต้นมา ผลผลิตเพิ่มขึ้นเป็น 322-353 กิโลกรัมต่อไร่ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 151-175 ยกเว้นปี
่
พ.ศ. 2520 ซึ่งเป็นปีที่ฝนแล้ง ผลผลิตจึงลดลงไปอยู่ในระดับที่ตำากว่า 300 กิโลกรัม ดังแสดง
ในตารางที่ 2.4
ต�ร�งที่ 2.4 ผลผลิตเฉลี่ยของข้�วโพดในประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ 2491-2525
พ.ศ. ผลผลิตเฉลี่ย (กก./ไร่) เพิ่มร้อยละ
1. ยุคพันธุ์ดั้งเดิม
2491-2493 128 -
2494-2498 170 39.00
2. ยุคพันธุ์กัวเตมาลา
2499-2503 250 95.00
2504-2508 304 137.00
2509-2513 314 145.00
2514-2517 305 138.00
3. ยุคพันธุ์สุวรรณ 1
2518 349 172.00
2519 333 160.00
2520 223 (ฝนแล้ง)
2521 322 151.00
2522 353 175.00
2523 326 154.00
2524 349 172.00
2525 342 167.00
ที่มา : เจริญศักดิ์ โรจนฤทธิ์พิเชษฐ์ และ พีระศักดิ์ ศรีนิเวศน์ (2529)
2.2.3 ก�รใช้ประโยชน์จ�กข้�วโพดพันธุ์สุวรรณ 1 ในต่�งประเทศ
จากคุณสมบัติที่ดีของข้าวโพดพันธุ์สุวรรณ 1 คือ มีการปรับตัวในวงกว้าง ผลผลิตมี
้
เสถียรภาพมากและต้านทานโรครานำาค้าง ทำาให้มีประเทศผู้ปลูกข้าวโพดทั่วโลก ได้แก่ ประเทศ
โบลิเวีย บราซิล โคลัมเบีย เนปาล ศรีลังกา และฟิลิปปินส์ รวมถึงบริษัทต่างชาติที่เข้ามาตั้งฐาน
การปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดในประเทศไทย (ตารางที่ 2.5) ได้นำาเมล็ดพันธุ์และเชื้อพันธุกรรม
ของข้าวโพดพันธุ์สุวรรณ 1 มาใช้โดยตรง หรือนำาไปพัฒนาต่อยอดเป็นข้าวโพดพันธุ์ลูกผสม
ต่างๆ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2520 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งจากข้อมูลของเกรียงศักดิ์ สุวรรณธราดล (2551)
ระบุว่า ข้าวโพดพันธุ์สุวรรณ 1 เป็นรากฐานของข้าวโพดพันธุ์ลูกผสมของประเทศต่างๆ ซึ่ง