Page 20 -
P. 20

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                            บทที่ 2 ห้าทศวรรษ: การพัฒนาพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของไทย  11



               แบบวงจรจึงสามารถทำาต่อไปได้ การดำาเนินงานอาจแตกต่างกันไปในแต่ละช่วงโดยในระยะ
                                                              ้
               แรก (ช่วงปี พ.ศ. 2518-2522) ได้เน้นการต้านทานโรครานำาค้างเป็นหลัก หลังจากนั้นจึงได้
               เน้นลักษณะผลผลิตสูงและลักษณะดีอื่นๆ มากขึ้นก่อนการคัดเลือกสายพันธุ์เพื่อผสมรวมเป็น
               สายพันธุ์ปรับปรุงใหม่ในรอบคัดเลือกต่อไป โดยพบว่า ในปี พ.ศ. 2523 พันธุ์ปรับปรุงรอบคัด
               เลือกที่ 6 ได้ให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์พื้นฐานร้อยละ 30 และในปี พ.ศ. 2528 หลังการปรับปรุง
               พันธุ์ครบ 9 รอบ พันธุ์ปรับปรุงให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์พื้นฐานประมาณร้อยละ 15 (สถาบันอินทรี
               จันทรสถิตย์ เพื่อการค้นคว้าและพัฒนาด้านพืชศาสตร์, 2536: 18-20)
               2.2.2 ก�รใช้ประโยชน์จ�กพันธุ์สุวรรณ 1 ในประเทศไทย
                     หลังจากข้าวโพดพันธุ์สุวรรณ 1 ได้รับการรับรองพันธุ์อย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2517
               ซึ่งเป็นสายพันธุ์แนะนำาแล้วก็ตาม แต่ยังมีการปรับปรุงผลผลิตของพันธุ์ทุกปีจากการคัดเลือกรุ่น
               (generation) ล่าสุด ซึ่งผลผลิตดีขึ้นเรื่อยๆ ทุกปี อย่างไรก็ตาม ในช่วงแรกของการผลิตเมล็ด
               พันธุ์ข้าวโพดสุวรรณ 1 เป็นไปอย่างจำากัด และไม่พอจำาหน่ายแก่เกษตรกร หน่วยงานราชการ
               ที่ผลิตเมล็ดพันธุ์สุวรรณ 1 มีอยู่ 3 หน่วยงาน คือ
                     1. ศูนย์วิจัยข้าวโพดข้าวฟ่างแห่งชาติ ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตั้งอยู่ที่ ตำาบล
                     ปางโศก อำาเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สามารถผลิตเมล็ดพันธุ์สุวรรณ 1 ได้
                     ประมาณปีละ 300 ตัน

                     2. กรมวิชาการเกษตร ใช้สถานีทดลองต่างๆ ผลิตได้ประมาณปีละ 100 ตัน
                     3. กรมส่งเสริมการเกษตร มีศูนย์เมล็ดอยู่ 4 ศูนย์ คือ
                       3.1  ศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 1 จังหวัดพิษณุโลก ตั้งอยู่ที่ทางหลวงพิษณุโลก-หล่มสัก
                           ตำาบลวังทอง จังหวัดพิษณุโลก
                       3.2  ศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 2 จังหวัดนครราชสีมา ตั้งอยู่ที่ทางหลวงสายโคราช-โชคชัย
                       3.3  ศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 4 จังหวัดชัยนาท ตั้งอยู่ที่กิโลเมตรที่ 190 บนทางสายเอเชีย
                       3.4  ศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 5 จังหวัดลพบุรี ตั้งอยู่ที่ตำาบลโคกตูม

                     การผลิตเมล็ดพันธุ์สุวรรณ 1 ของกรมส่งเสริมการเกษตรเป็นการดำาเนินการโดยให้
               เกษตรกรที่คัดเลือกไว้เป็นผู้ผลิตภายใต้การดูแลของเจ้าหน้าที่ และรับซื้อคืนกลับมาดำาเนินวิธี
               คัดฝัก กะเทาะ อบคลุกยา และบรรจุกระสอบ เพื่อขายให้แก่เกษตรกรอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งกำาลัง
               การผลิตของกรมส่งเสริมการเกษตรผลิตพันธุ์ข้าวโพดออกมาได้ประมาณ 1,850 ตัน ในปี พ.ศ.
               2524 (ตารางที่ 2.2)
                ต�ร�งที่ 2.2 ก�รผลิตเมล็ดข้�วโพดพันธุ์ดีของกรมส่งเสริมก�รเกษตร

                                  พ.ศ.                      เมล็ดข้�วโพดที่ผลิตได้ (ล้�นตัน)
                                  2519                               2.68
                                  2520                               1.68
                                  2521                               2.88
                                  2522                               2.86
                                  2523                               2.99
                                  2524                               3.45

               ที่มา : เอมอร อังสุรัตน์  และคณะ (2555)
   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25