Page 19 -
P. 19

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

            10    ห้าทศวรรษการพัฒนา
                  พันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศไทย


           2.2 สุวรรณ 1: จ�กห้องปฏิบัติก�ร สู่ก�รขย�ยตัว
               และก�รใช้ประโยชน์


           2.2.1 ก�รขย�ยตัวของพันธุ์สุวรรณ 1 ในประเทศไทย
                                            ้
                ในปี พ.ศ. 2516 เป็นช่วงที่โรครานำาค้างกำาลังระบาดอย่างหนัก กรมวิชาการเกษตร
           กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงได้ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกพันธุ์ต้านทานโรค คือ พันธุ์โบกอร์ 2
           ซึ่งนำามาจากอินโดนีเซีย โดยมีเมล็ดพันธุ์เพียง 300 ตันเท่านั้นที่นำามาแจกจ่ายให้เกษตรกรปลูก
           ในแหล่งที่มีโรคระบาดรุนแรง เพื่อเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ซึ่งต่อมาพบว่า ความต้านทาน
           โรคของพันธุ์นี้ในปีหลังๆ ไม่ดีเท่าที่ควรจึงยกเลิกการส่งเสริมในเวลาต่อมา (สถาบันอินทรีจันทร
           สถิตย์เพื่อการค้นคว้าและพัฒนาด้านพืชศาสตร์, 2536: 16-17)
                ขณะเดียวกัน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้เตรียมการปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดที่ต้านทาน
                 ้
           โรครานำาค้างไว้ตั้งแต่เริ่มมีการระบาดของโรค และสามารถส่งเสริมให้ปลูกพันธุ์ดีได้ในปี พ.ศ.
           2517 คือ การใช้พันธุ์ไทยคอมโพสิตเบอร์ 1 ดีเอ็มอาร์ ซึ่งความจริงเมล็ดพันธุ์นี้ได้เริ่มออกสู่มือ
           เกษตรกรในระยะ 2-3 ปี ก่อนการรับรองพันธุ์อย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2517 แล้ว โดยผ่าน
           ทางการทดลองปลูกในหลายท้องที่ของเกษตรกร และเกษตรกรยังสามารถเก็บเมล็ดไว้ทำาพันธุ์
           เอง นอกเหนือจากการจำาหน่ายจ่ายแจกให้เกษตรกรบางรายไปในระหว่างนั้น
                สำาหรับการรับรองพันธุ์ในขณะนั้น ทางคณะกรรมการบริหารโครงการข้าวโพดและ
           ข้าวฟ่างแห่งชาติ ประกอบด้วย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมวิชาการเกษตร และ
           กรมส่งเสริมการเกษตร) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ ได้แต่งตั้ง
           อนุกรรมการพิจารณาพันธุ์ขึ้นมา ประกอบด้วย
                1.  ดร.เดลจีส เมลเลอร์   มูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์   ประธาน
                2.  นายอำาพล เสนาณรงค์   กรมวิชาการเกษตร        อนุกรรมการ
                3.  นายสุจินต์ จินายน   มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  อนุกรรมการ
                4.  นายกลม สมบัติศิริ   กรมส่งเสริมการเกษตร     อนุกรรมการ
                5.  นายสุทัศน์ ศรีวัฒนพงศ์  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  อนุกรรมการและ
                                                                เลขานุการ
                อนุกรรมการชุดนี้ มีหน้าที่เพื่อศึกษาหาข้อมูลลักษณะเด่นของข้าวโพดพันธุ์ใหม่ จากการ
           ทดสอบระดับแปลงทดลองและไร่เกษตรกรในระยะเวลา 1-2 ปี รวมทั้งข้อมูลจากการทดสอบ
           ในต่างประเทศ โดยรายละเอียดข้อมูลต่างๆ เหล่านี้ได้รับการเสนอต่อกรรมการบริหารโครงการ
           ข้าวโพดและข้าวฟ่างแห่งชาติ เพื่อพิจารณา และอนุมัติรวมทั้งการใช้ชื่อ “สุวรรณ 1” อีกด้วย
                จากความร่วมมือร่วมใจของคณะผู้ดำาเนินงานปรับปรุงพันธุ์ นำาโดย ดร.สุจินต์ จินายน
           และการสนับสนุนอย่างจริงจังของหน่วยงานต่างๆ ตามโครงการร่วมมือ “โครงการข้าวโพดและ
           ข้าวฟ่างแห่งชาติ” ทำาให้ข้าวโพดพันธุ์ดี “สุวรรณ 1” ได้รับการรับรองพันธุ์อย่างเป็นทางการใน
           ปี พ.ศ. 2517 ซึ่งข้าวโพดพันธุ์นี้ไม่ได้เป็นประโยชน์เฉพาะในประเทศเท่านั้น แต่ยังมีบทบาทใน
           การเป็นแหล่งพันธุ์ดีสนับสนุนการปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดในหลายๆ ประเทศทั่วโลก

                แม้ว่าพันธุ์สุวรรณ 1 จะได้รับการรับรองเป็นพันธุ์ดีอย่างเป็นทางการแล้วก็ตาม การ
           ปรับปรุงยังคงดำาเนินการต่อไป จากลักษณะพื้นฐานทางพันธุกรรมที่กว้าง การปรับปรุงพันธุ์
   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24