Page 24 -
P. 24

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                            บทที่ 2 ห้าทศวรรษ: การพัฒนาพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของไทย  15



                                                                  ้
                     ในปี พ.ศ. 2509 ประเทศเนปาลได้มีรายงานในเรื่องโรครานำาค้าง โดยได้นำาเอาข้าวโพด
               พันธุ์ไทยคอมโพสิต 1 และ DMR เข้ามาปลูกในประเทศเนปาล ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในชื่อ “Ram-
               pur Composite” และสำาหรับปี พ.ศ. 2513 ไทยคอมโพสิต 1 ได้ถูกนำาเข้าประเทศศรีลังกา
               ซึ่งสามารถปรับตัวได้ดีขึ้นและเรียกกันในชื่อ “Bhadra-1” โดยในปี พ.ศ.2520 “Bhadra-1”
               ได้ถูกผลิตเป็นเมล็ดเพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 23 มากกว่าพันธุ์พื้นเมืองในศรีลังกาและยังเป็นที่นิยม
               กันมากในหมู่เกษตรกรชาวศรีลังกาในช่วงปี พ.ศ. 2517-2520

                     นอกจากนี้ การปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดต่างๆ ส่งผลให้เป็นแหล่งที่มาของความร่วมมือ
               กันระหว่าง CIMMYT และบริษัทในประเทศบราซิลที่มีการร่วมวิจัยโดยใช้ OPVs และไฮบริด
               มาร่วมพัฒนาพันธุ์สุวรรณ 1 ทดลองปลูกโดยครอบคลุมพื้นที่ 100,000 เฮกแตร์ในประเทศ
               ฟิลิปปินส์ โดยได้นำาลูกผสมสองสายพันธุ์ที่มีพันธุ์สุวรรณ 1 เป็นพ่อแม่พันธุ์ จนได้พันธุ์สุวรรณ
               2301 เป็นไฮบริดลูกผสมเดี่ยว และมีความต้านทานแล้งได้ดี (Sriwatanapongse et al., 1993)
                     กล่าวโดยสรุป พลวัตการพัฒนาพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของไทยนั้นได้เกิดขึ้นอย่าง
               ต่อเนื่อง ซึ่งแรกเริ่มนั้นในปี พ.ศ. 2496 ประเทศไทยมีการนำาข้าวโพดพันธุ์ทิกิสาเต โกลเดน
               เยลโลว์ (Tiquisate Golden Yellow) หรือที่เรียกว่าพันธุ์กัวเตมาลามาแนะนำาให้เกษตรกรปลูก
               เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ และสามารถสร้างผลผลิตขายในประเทศและต่างประเทศ
               ได้มากมาย โดยในปี พ.ศ. 2517 กรมวิชาการเกษตรได้นำาข้าวโพดพันธุ์ดังกล่าวนี้มาปรับปรุง

               สายพันธุ์จนได้สายพันธุ์ใหม่คือ พันธุ์พระพุทธบาท 12 ซึ่งให้ผลผลิตสูงและมีผลผลิตค่อนข้าง
                                          ้
                  ่
               สมำาเสมอ แต่ต่อมาได้เกิดโรครานำาค้างระบาดในข้าวโพด ทำาให้ผลผลิตลดลงเป็นอย่างมาก
               จึงทำาให้เกิดการปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดขึ้นอีกครั้ง โดยเป็นผลให้เกิดข้าวโพดพันธุ์ใหม่ที่มีความ
               สามารถในการต้านทานโรคดังกล่าว คือ พันธุ์สุวรรณ 1 และปลูกกันอย่างแพร่หลายจึงทำาให้
               ข้าวโพดสายพันธุ์นี้มีบทบาทต่อการเพิ่มผลผลิตข้าวโพดของประเทศไทย และประเทศอื่นๆ
               อย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า ข้าวโพดพันธุ์สุวรรณ 1 นับเป็นจุดเริ่มต้นของธุรกิจเมล็ดพันธุ์
               ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของไทย ที่ทำาให้เกิดการร่วมมือในระดับนานาชาติในการวิจัย ทั้งในด้านการ
               ปรับปรุงพันธุ์และการเพาะปลูก รวมถึงการส่งเสริมการผลิตที่ส่งผลถึงปริมาณและมูลค่าเพิ่มใน
               อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ทั้งที่เป็นอุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์ วัตถุดิบอาหารสัตว์ และแป้งข้าวโพด
                                     ่
               ส่งออกอย่างมีนัยสำาคัญ ไม่ตำากว่า 124,459 ล้านบาทต่อปี
   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29