Page 50 -
P. 50
ุ
ู
้
ิ
ิ
ู
คลังความรดจทัลและฐานข้อมลจดหมายเหต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร ์
4. ประโยชน์ต่อผู้รับบริการ (ระบุข้อมูลเชิงประจักษ์และแสดงให้เห็นว่าประโยชน์ที่เกิดขึ้น
สร้างการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นอย่างไร)
จากแนวโน้มการเข้าร่วมการจัดทำ KM ของส่วนงานตั้งแต่อดีต จนถึง ปัจจุบัน จะเห็นว่า หน่วยงาน
ให้ความสนใจทำ KM เพื่อพัฒนาตน พัฒนางาน และพัฒนาองค์กร เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดหลังจากที่ได้เสนอ
KU-KM Canvas Model ให้ทุกส่วนงานในมหาวิทยาลัยได้ใช้กันอย่างแพร่หลาย เพื่อสร้างความเข้าใจในการ
ทำ KM เพื่อประโยชน์สูงสุดขององค์กร เกิดบรรยากาศองค์กรแห่งการเรียนรู้ภายในส่วนงาน บุคลากร
กระตือรือร้นที่จะแลกเปลี่ยนเรียนรู้และใช้ KM เป็นเครื่องมือในการพัฒนางานและองค์กรของตน จากใน
ปี 2556 จนถึงปี 2562 มีหน่วยงานเข้าร่วม 19 หน่วยงาน หลังจากปรับปรุงรูปแบบการนำเสนอการทำ KM
โดยใช้ KU-KM Canvas Model และจัดกิจกรรม KM สัญจรพร้อมให้ความรู้ด้าน KM และอธิบายวิธีการใช้งาน
ให้ส่วนงานได้รู้และเข้าใจ การนำ KM ไปใช้พัฒนาองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปี 2563 – 2566 ได้ความ
ร่วมมือในการส่งแนวปฏิบัติที่ดีเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพิ่มเป็น 29 หน่วยงาน ปัจจุบันมีจำนวนผลงาน KM ที่
ผ่านการกลั่นกรองจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้าน KM และนำไปจัดเก็บและเผยแพร่ในคลังความรู้ดิจิทัล
มก. และ https://km.person.ku.ac.th/ ทั้งสิ้น 219 ผลงาน เพื่อให้บุคลากรที่สนใจสามารถนำแนวปฏิบัติที่ดี
ไปประยุกต์ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5. Link YouTube (ถ้ามี) https://www.youtube.com/watch?v=8DcNEvPrqCs
ข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการ
1. เสนอแนะให้มีการประเมินผลลัพธ์ (Outcome) และผลกระทบ (Impact) เพิ่มเติมนอกเหนือจาก
การประเมินความพึงพอใจของใช้บริการ Canvas Model เนื่องจากการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ
เป็นการประเมินผลผลผลิต (Output) แต่ยังไม่ได้ประเมินว่า Canvas Model เป็นแบบฟอร์มที่รวบรวมข้อมูล
ได้อย่างครบถ้วนหรือไม่
2. เสนอแนะให้นำ Digital Technology มาช่วยในการจัดการ Knowledge Assets เพื่อให้เกิด
ประโยชน์ในระดับมหาวิทยาลัย
44