Page 56 -
P. 56

ิ
                                                ิ
                                    ื
                                                    ์
                                                                      ิ
                                                                                 ิ
               โครงการพัฒนาหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


                                                                                               ็
                              2.5 แบ่งตามชนรุ่น (Generation) เช่น ชนรุ่นเบบี้บูม (Baby boom) ชนรุ่นเอกซ์ (Generation
               X) ชนรุ่นวายย์ (Generation Y) ชนรุ่นแซ็ต (Generation Z) เป็นต้น

                              2.6 แบ่งตามเชื้อชาติและวัฒนธรรม (Race & culture) เช่น แอฟริกัน-อเมริกัน (African
               American) เอเชี่ยน-อเมริกัน (Asian American) หรือเลสเบี้ยน เกย์ หรือกลุ่มคนข้ามเพศ


                       3. การแบ่งส่วนตลาดตามลักษณะจิตนิสัยของผู้บริโภค (Psychographic segmentation) เป็นการแบ่ง
               ส่วนตลาดโดยใช้หลักจิตวิทยาและประชากรศาสตร์ร่วมกัน ซึ่งเป็นลักษณะการด าเนินชีวิต (Lifestyle) คุณลักษณะ

               ส่วนบุคคล (Personality) กิจกรรมที่ท า (Activities) หรือความเชื่อ (Believes) ซึ่งผู้บริโภคที่มีช่วงอายุเดียวกันก็
               อาจมีลักษณะจิตนิสัยและการด าเนินชีวิตที่ไม่เหมือนกัน โดยสามารถแบ่งหลักเกณฑ์การแบ่งส่วนตลาดตาม
               ลักษณะจิตนิสัยของผู้บริโภคได้ (Bhasin, 2015) ดังนี้


                              3.1 แบ่งตามการด าเนินชีวิต (Lifestyle) ผู้บริโภคมีความชอบและการเลือกซื้อสินค้าแตกต่างกัน
               ขึ้นกับวิถีการด าเนินชีวิต เช่น นักศึกษาที่ไปเรียนที่มหาวิทยาลัย กับคนในวัยเดียวกันที่ไปท างาน ย่อมเลือกเสื้อผ้าที่

               ไม่เหมือนกัน ดังนั้นการด าเนินชีวิต หรือ lifestyle ในที่นี้จึงเฉพาะเจาะจงที่สถานที่ที่ผู้บริโภคไป

                              3.2 แบ่งตามกิจกรรม ความสนใจและความคิดเห็น (Activities Interests & Opinions)


                                     3.2.1 แบ่งตามกิจกรรม (Activities) วิธีการท างานหรือประเภทของงานอดิเรกที่
               ผู้บริโภคท า สามารถบอกเล่าเรื่องราวหลายอย่างของผู้บริโภคนั้น เช่น ถ้าผู้บริโภคท างานหนักในขณะที่ชอบเล่น

               กีฬาด้วย ผู้ประกอบการสามารถคาดการณ์ได้ว่า ผู้บริโภคเป็นคนที่กระตือรือร้น แคล่วคล่อง ว่องไว แต่ถ้าผู้บริโภค
               เป็นนักบัญชีและชอบเล่นกีฬาในร่ม ผู้ประกอบการอาจคาดการณ์ได้ว่า ผู้บริโภคคนนี้ไม่น่าจะออกจากบ้านในช่วง

               วันหยุดสุดสัปดาห์ ดังนั้น เมื่อรู้กิจกรรมของผู้บริโภคแล้ว ธุรกิจสามารถล่วงรู้นิสัยในการเดินทางท่องเที่ยว หรือ
               นิสัยในการท างานได้ (Bhasin, 2015)

                                     3.2.2 แบ่งตามความสนใจ (Interests) ผู้บริโภคสนใจสินค้าประเภทอะไร เช่น

               เครื่องส าอาง อาหาร เทคโนโลยี หรือแฟชั่น เครื่องแต่งกาย การแบ่งผู้บริโภคออกตามความสนใจได้ถูกน ามาใช้
               อย่างกว้างขวาง เนื่องจากเข้าใจได้ง่ายและคัดกรองจัดแบ่งได้ง่าย ผู้ประกอบการอาหารก็จะมุ่งไปที่กลุ่มผู้บริโภคท ี่

               สนใจเกี่ยวกับอาหาร ซึ่งอาจใช้ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี หรือสื่อสังคมออนไลน์ที่มีโปรแกรมการแบ่งกลุ่มผู้ที่มี
               ความสนใจออกเป็นประเภทต่าง ๆ ท าให้ผู้ประกอบการสามารถที่จะเลือกกลุ่มเป้าหมายได้เร็วขึ้น และถูกต้อง

               แม่นย ามากขึ้น (Bhasin, 2015)

                                     3.2.3 แบ่งตามความคิดเห็น (Opinions) กลุ่มผู้บริโภคอาจถูกแบ่งได้อกจากความ
                                                                                                   ี
               คิดเห็นที่มีต่อสินค้านั้น ผู้บริโภคอาจสนใจในสินค้านั้น แต่เมื่อได้ลองแล้วอาจมีความคิดเห็นได้ทั้งดีและไม่ดี ความ
               คิดเห็นสามารถส่งต่อได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในโลกออนไลน์ ซึ่งในปัจจุบัน ผู้ประกอบการจะต้องคอยตรวจสอบ
               ระวังความคิดเห็นที่เป็นผลลบต่อสินค้าอยู่เสมอ และต้องมีทีมงานที่ดูแลรับผิดชอบในการจัดการต่อความคิดเห็นที่

               เป็นลบนั้น (Bhasin, 2015)


                                                             54
   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61