Page 71 -
P. 71
์
ิ
ิ
ิ
โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ิ
ื
69
พลังงาน 3 ATP/1 โมเลกุลของกรดโปรไปโอเนท) ซักซินิลโคเอนไซม์เอจะผ่านเข้าในวัฏจักรเครบส์
เพื่อเปลี่ยนเป็นมาเลท (Malate) ในขั้นตอนนี้จะได้ 3 ATP/1 โมเลกุลของกรดโปรไปโอนิก จากนั้น
มาเลทจะเปลี่ยนเป็นฟอสโฟอินอลไพรูเวท (Phosphoenalpyruvate) ผ่านออกซาโลอะเซท
เตท (Oxaloacetate) (ขั้นตอนนี้ต้องใช้พลังงาน 1 ATP แต่ได้พลังงาน 3 ATP ต่อ 1 โมเลกุลของออก
ซาโลอะเซทเตท) จากนั้นฟอสโฟอินอลไพรูเวทจึงย้อนวิถีไกลโคไลซีสเพื่อเปลี่ยนเป็นกลูโคสต่อไป
(ขั้นตอนนี้ใช้พลังงาน 4 ATP/ 1 โมเลกุลฟอสโฟอินอลไพรูเวท) เมื่อน ากลูโคสไปใชเป็นพลังงานจะได 38
้
้
ATP ดังนั้น 1 โมเลกุลของกรดโปรไปโอนิกเป็นพลังงานจะได้พลังงานทั้งสิ้น 17 ATP
กรดโปรไปโอนิกที่ไม่ได้ถูกเปลี่ยนเป็นกลูโคสในเซลตับก่อนที่จะน าไปใช้เป็นพลังงาน เมื่อไปตาม
ส่วนต่างๆของร่างกายตามระบบไหลเวียนของเลือด สามารถถูกน าไปใช้เป็นแหล่งพลังงานได้ภายในเซล
โดยตรงได้เช่นกัน โดยเปลี่ยนกรดโปรไปโอนิกเป็นฟอสโฟอินอลไพรูเวทก่อน จากนั้นจึงเปลี่ยนฟอสโฟ
อินอลไพรูเวทเป็นอะเซททิลโคเอนไซม์เอผ่านไพรูเวท เมื่ออะเซททิลโคเอนไซม์เอผ่านเข้าวัฏจักรเครบส์
จะได้พลังงาน 22 ATP แต่ต้องใช้พลังงานในขั้นตอนการเปลี่ยนกรดโปรไปโอนิกหรือโปรไปโอเนทเป็น
ซักซินิลโคเอนไซม์เอ 3 ATP และในขั้นตอนเปลี่ยนมาเลทเป็นฟอสโฟอินอลไพรูเวท 1 ATP ดังนั้นในการ
เปลี่ยนกรดโปรไปโอนิกหรือโปรไปโอเนทเป็นพลังงานโดยตรงจะได้พลังงานทั้งสิ้น 18 ATP/1 โมเลกุล
ของกรดโปรไปโอเนท
นอกจากโปรไปโอนิกจะเป็นกรดไขมันที่ระเหยได้ง่ายที่ผลิตได้ จากการย่อยคาร์โบไฮเดรตโดย
เอนไซม์จากจุลินทรีย์ในกระเพาะรูเมนแล้ว ยังเป็นผลผลิตที่ได้จากขบวนการเบต้าออกซิเดชั่นของกรด
ไขมันที่มีคาร์บอนเป็นจ านวนเลขคี่ด้วย กรดโปรไปโอนิกถูกใช้เป็นวัตถุดิบส าคัญในการสังเคราะห์
น้ าตาลกลูโคสที่เซลของตับและไต โดยผ่านขบวนการกลูโคนีโอเจนนิซีส (Gluconeogenesis) กลูโคส
ที่สังเคราะห์ได้จะถูกน าไปใช้เป็นแหล่งพลังงานส าหรับเนื้อเยื่อส าคัญของร่างกายที่ไม่สามารถใช้พลังงาน
จากกรดไขมันที่ระเหยได้ เช่น เนื้อเยื่อของเซลสมอง เป็นต้น บางส่วนของกรดโปรไปโอนิกจะถูกน าไป
สร้างเป็นกรดอะมิโนบางชนิดได้ เช่น กรดแอสปาติก อะลานินและกรดกลูตามิก เป็นต้น (ภาพที่ 2-2)
การใช้กรดบิวทิริกหรือบิวทิเรทที่เกิดขึ้นในกระเพาะรูเมนจะถูกเปลี่ยนให้เป็นเบต้าไฮดรอกซิ-
บิวทิเรท (β-hydroxybutyrate) ในระหว่างที่ถูกดูดซึมผ่านผนังกระเพาะรูเมนและกระเพาะโอมาซั่ม
้
เมื่อเบต้าไฮดรอกซิบิวทีเรทไปที่เซลต่างๆ เช่น เซลกล้ามเนื้อ จะถูกใช้เป็นแหล่งพลังงานโดยเปลี่ยนเบตา
ไฮดรอกซิบิวทิเรทได้เป็นอะเซททิลโคเอนไซม์เอ 2 โมเลกุล เมื่ออะเซททิลโคเอนไซม์เอผ่านเข้าวัฏจักร
เครบส์จะได้พลังงานออกมา 25 ATP/ 1 โมเลกุลของกรดบิวทีริก
ส าหรับการน ากลูโคสที่เกิดขึ้นจากการสังเคราะห์กลูโคสจากกรดโปรไปโอนิกหรือโปรไป
โอเนทหรือกลูโคสที่ได้จากการดูดซึมที่ผนังล าไส้ไปใช้เป็นพลังงานนั้น จะต้องผ่านขบวนการต่างๆ เริ่ม
จากกลูโคสเข้าสู่วิถีไกลโคไลซีสเพื่อเปลี่ยนเป็นไพรูเวท (ภาพที่ 2-3) การเปลี่ยนไพรูเวทให้เป็นอะเซททิล
โคเอนไซม์เอ แล้วจึงน าอะเซททิลโคเอนไซม์เอเข้าวัฏจักรเครบส์ เพื่อให้ได้พลังงานออกมา
บทที่ 2 สารอาหารและเมตาบอลิซึมในร่างกายสัตว์