Page 74 -
P. 74

ิ
                                              ิ
                                   ื
                                                                 ิ
                      โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
                                                ์
                                                                           ิ
                                                           72

                  นิก  2 โมเลกุล  นอกจากนี้กลูโคสสามารถถูกสังเคราะห์ได้จากกรดอะมิโนบางชนิดในกลุ่มที่สามารถ
                  เปลี่ยนเป็นกลูโคสได้ (Glucogenic amino acid) เช่น กรดอะมิโนอะลานิน (Alanine) กรดอะมิโน

                  ไกลซีน (Glycine) กรดอะมิโนกรดกลูตามิก (Glutamic acid หรือ Glutamte) และกรดอะมิโนวา
                  ลีน (Valine) เป็นต้น การสังเคราะห์กลูโคสโดยใช้กรดโปรไปโอนิกเป็นวัตถุดิบนั้น  ในขั้นแรกจะต้องท า

                  ปฏิกิริยากับโค-เอนไซม์เอได้เป็นโปรไปโอนิลโคเอนไซม์เอ (Propionyl CoA) ก่อน  จากนั้นจึง

                  เปลี่ยนเป็นซัคซินิลโคเอนไซม์เอ (Succinyl CoA)     และผ่านเข้าไปในวัฎจักรเครบส์โดยเปลี่ยนเป็น
                  อ๊อกซาโลอะซิเตทและฟอสโฟอินอล ไพรูเวท (Phosphoenol pyruvate) แล้วจึงเปลี่ยนเป็นกลูโคสโดย

                  ทวนวิถีไกลโคไลซีส (Revese glycolysis) ที่ไซโตพลาสซึมของเซล โดยทั่วไประดับกลูโคสในเลือดของ

                  สัตว์เคี้ยวเอื้องจะมีระดับต่ ากว่าในสัตว์กระเพาะเดี่ยวมาก (มีประมาณ 50%) และในร่างกายของโคมี
                  เนื้อเยื่อที่ไม่สามารถใช้กรดไขมันที่ระเหยได้ง่ายเป็นแหล่งพลังงานได้ เนื่องจากเป็นเนื้อเยื่อที่จ าเป็นต้อง

                  ใช้แต่กลูโคสเป็นแหล่งพลังงานเท่านั้น ได้แก่ เซลประสาท (Nerve fiber) กล้ามเนื้อ (Muscle

                  cell) เนื้อเยื่อไขมัน (Adipose tissue) เซลเต้านม (Mammary gland) และตัวอ่อน (Fetus) เป็นต้น
                  เหตุผลดังกล่าวจึงท าให้ร่างกายต้องมีการเปลี่ยนสารอื่นให้เป็นกลูโคส โดยเฉพาะเมื่อสัตว์ได้รับกลูโคส

                  โดยการดูดซึมผ่านผนังล าไส้ไม่เพียงพอด้วย สารต่างๆที่สามารถเปลี่ยนเป็นกลูโคส ได้แก่ กรดโปรไปโอ
                  นิก กรดอะมิโนในกลุ่มกลูโคจินิก (Glucogenic amino acid)  ยกเว้นกรดอะมิโนไลซีน

                  (Lysine) กรดอะมิโนลิวซีน(Leusine) และกรดอะมิโนเทาว์รีน (Taurine) กลีเซอรอลและแลคเตท เป็นต้น




                  การย่อยคาร์โบไฮเดรตในล าไส้เล็ก


                         ในสัตว์เคี้ยวเอื้อง เช่น โค คาร์โบไฮเดรตที่ผ่านส่วนกระเพาะแท้เข้าสู่ล าไส้เล็กมีส่วนประกอบที่
                  ส าคัญ คือ คาร์โบไฮเดรตที่เป็นส่วนประกอบของอาหารที่ไม่ได้ถูกย่อยโดยจุลินทรีย์ในกระเพาะรูเมนทั้ง

                  คาร์โบไฮเดรตที่เป็นโครงสร้างของพืชและคาร์โบไฮเดรตที่ไม่ได้เป็นโครงสร้างของพืช  คาร์โบไฮเดรตใน

                  โครงสร้างของ-จุลินทรีย์ นอกจากนี้ยังมีน้ าตาลชนิดต่างๆ เช่น กลูโคส กาเลคโตส แมนโนสและไรโบสที่
                  ถูกสังเคราะห์ในกระเพาะรูเมน สัดส่วนของคาร์โบไฮเดรตที่เป็นโครงสร้างและไม่เป็นโครงสร้างที่มาจาก

                  อาหาร รวมถึงสัดส่วนของคาร์โบไฮเดรตที่เป็นส่วนโครงสร้างของจุลินทรีย์ที่ผ่านเข้ามาในส่วนล าไส้
                  เล็ก จะมีปริมาณมากน้อยเท่าใดขึ้นกับปริมาณและชนิดของอาหารที่สัตว์ได้รับ รวมถึงอัตราการย่อย

                  อาหารของจุลินทรีย์แต่ละชนิดด้วย

                         สัตว์เคี้ยวเอื้องที่กินอาหารปกติในกลุ่มของคาร์โบไฮเดรตที่ไม่ได้เป็นโครงสร้าง       จะถูก
                  จุลินทรีย์ในกระเพาะรูเมนใช้เป็นแหล่งพลังงานจนหมด อย่างไรก็ดีการให้อาหารอย่างเต็มที่อาจมี

                  คาร์โบไฮเดรตหลงเหลือมาที่ล าไส้ได้ ส่วนของแป้งที่เข้ามาในล าไส้ส่วนใหญ่จะถูกย่อยหมดก่อนที่อาหาร



                   บทที่ 2   สารอาหารและเมตาบอลิซึมในร่างกายสัตว์
   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78   79