Page 69 -
P. 69

ื
                                              ิ
                                                                 ิ
                                     ิ
                                                                           ิ
                                                ์
                      โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
                                                           67

                  เปลี่ยนเป็นน้ าตาลกลูโคส เป็นต้น จากนั้นสัตว์จะน าเอาโภชนะที่ได้จากกระบวนการทางชวเคมีเหล่านี้ไป
                                                                                           ี
                  ใช้ประโยชน์ต่อไป (Klaus, 1994)

                         ส าหรับผลิตผลจากสัตว์ เช่น เนื้อ น้ านมและไข่ถูกผลิตขึ้นโดยการสะสมโปรตีน ไขมันและ
                  คาร์โบไฮเดรต ในเนื้อเยื่อต่างๆ ของสัตว์ในแต่ละชนิด โดยอัตราส่วนความสามารถในการสะสมได้ของ

                  โภชนะจะถูกน ามาใช้ในการค านวณหาปริมาณผลผลิตที่เกิดขึ้น ดังนั้นแล้วการประเมินองค์ประกอบและ

                  คุณภาพของผลผลิตจากสัตว์ จึงมีความสัมพันธ์กันกับอัตราส่วนการสะสมของโภชนะในแต่ละส่วนนั้นๆ
                         การผลิตเนื้อเพื่อให้เป็นเนื้อเยื่อส าหรับการเจริญเติบโตของสัตว์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสัตว์ที่อยู่

                  ในช่วงวัยหนุ่มสาว พบว่าอัตราส่วนการสะสมโปรตีน คาร์โบไฮเดรตและไขมันในเนื้อเยื่อ จะมีค่าเท่ากัน

                  กับความแตกต่างระหว่างการสังเคราะห์และการย่อยสลายของโภชนะนั้นๆ ซึ่งโดยปกติแล้วอัตราส่วน
                  การสะสมของโภชนะจะมีน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับทั้งอัตราส่วนการสังเคราะห์หรืออัตราส่วนการ

                  ย่อยสลายของโภชนะ

                         การสะสมส่วนประกอบของสารอินทรีย์ในน้ านมและไข่ พบว่าจะมีค่าเท่ากับอัตราส่วนของการ
                  สังเคราะห์ของสารนั้นๆ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะผลผลิตดังกล่าวได้มีการขับออกมาจากเซล เนื่องจากการ

                  หลุดรอดจากกระบวนการย่อยสลายภายในเซล ดังนั้นจึงมีความจ าเป็นที่จะต้องใช้พลังงานช่วยใน
                  กระบวนการสังเคราะห์ เพื่อให้เกิดการสะสมของผลผลิตนั้นได้ ตลอดทั้งเพื่อรักษาสภาพการท างานของ

                  เซลล์ล์ให้ปกติต่อไป




                   เมตาบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรต (Metabolism of carbohydrate)


                             เมตาบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรตในสัตว์เคี้ยวเอื้องจะแตกต่างกับสัตว์ไม่เคี้ยวเอื้องหรือสัตว์

                  กระเพาะเดี่ยวอย่างเด่นชัด  ในสัตว์กระเพาะเดี่ยวคาร์โบไฮเดรตถูกย่อยโดยเอนไซม์จากระบบทางเดิน
                  อาหารได้ผลผลิตคือ น้ าตาลกลูโคส ซึ่งสัตว์จะน าไปใช้ประโยชน์เพื่อเป็นแหล่งพลังงานโดยตรง  แต่ใน

                  สัตว์เคี้ยวเอื้อง คาร์โบไฮเดรตเมื่อถูกย่อยโดยเอนไซม์จากจุลินทรีย์ในกระเพาะรูเมน จะได้ผลผลิตที่

                  ส าคัญคือ กรดไขมันระเหยง่ายชนิดต่างๆ ซึ่งจะถูกดูดซึมโดยตรงในรูปกรดไขมันอิสระผ่านผนังกระเพาะ
                  รูเมน  เรคติคูลัมและโอมาซัมด้วยขบวนการดิพฟิวชั่นหรือขบวนการแพร่ (Diffusion) แล้วเข้าสู่เส้น

                  เลือดไปที่ตับ (Portal vein)  จากนั้นจะถูกน าไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายต่อไป เพื่อใช้เป็นแหล่ง
                  พลังงานส าคัญของร่างกาย  มีส่วนน้อยเท่านั้นที่สามารถดูดซึมผ่านกระเพาะแท้ได้ ปริมาณกรดอะเซท

                  ติกจะมีมากที่สุดในเส้นเลือดที่ไปที่ตับและในเส้นเลือดที่ไปหล่อเลี้ยงร่างกาย (Circula system)  เป็นผล

                  จากขณะดูดซึมผ่านผนังกระเพาะรูเมนกรดอะเซทติกมีการเมตาบอลิซึมหรือมีการเปลี่ยนแปลงน้อยที่สุด
                  โดยส่วนที่เปลี่ยนแปลงจะเปลี่ยนเป็นสารคีโตน (Ketone bodies)   แต่กรดบิวทีริกจะมีเมตาบอลิซึมสูง


                   บทที่ 2   สารอาหารและเมตาบอลิซึมในร่างกายสัตว์
   64   65   66   67   68   69   70   71   72   73   74