Page 70 -
P. 70

ิ
                                                ์
                                   ื
                                                                           ิ
                                     ิ
                                              ิ
                      โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
                                                           68

                  ที่สุด โดยเปลี่ยนแปลงเป็นเบต้า-ไฮดรอกซิบิวทีเรท (β-hydroxybutyrate)  ซึ่งเป็นสารคีโตนที่จะถูก

                  เปลี่ยนให้เป็นพลังงานในกล้ามเนื้อได้ ระดับของกรดบิวทีริกในเส้นเลือดที่ไปตับจึงมีค่าต่ า  กรดอะเซทติ
                  กและกรดบิวทีริก ถูกเปลี่ยนเป็นแหล่งพลังงานที่ส าคัญของร่างกายโดยใช้ขบวนการออกซิ

                  เดชั่น (Oxidation)  และวัฎจักรเครบส์ (Kerb’s cycle)
                          ขั้นตอนเริ่มต้นจากกรดอะเซทติกจะท าปฏิกิริยากับโคเอนไซม์เอได้เป็นอะเซททิลโคเอนไซม์

                  เอ  โดยมีตัวเร่งปฏิกิริยาคือ อะเซทเตทไทโอไคเนส (Acetate thiokinase)   จากนั้นจะถูกออกซิไดส์
                  ในวัฏจักรเครบส์เพื่อให้ได้พลังงานในรูป ATP ออกมาโดย  1 โมเลกุลของกรดอะเซทติกจะได้พลังงาน

                  ทั้งสิ้น  12 ATP  แต่ในการเปลี่ยนกรดอะเซทติกให้เป็นอะเซททิลโคเอนไซม์เอต้องใช้พลังงาน 2

                  ATP พลังงานที่ได้จากการสลายกรดอะเซทติท 1 โมเลกุลจึงมีค่าเท่ากับ 10 ATP (ภาพที่ 2-1) กรดอะ
                  เซทติกนอกจากจะถูกใช้เป็นแหล่งพลังงานในร่างกายแล้ว ยังเป็นวัตถุดิบที่ส าคัญในการสังเคราะห์ไขมัน

                  ในนมด้วยโดยการสังเคราะห์เป็นกรดไขมันสายสั้นๆ ตั้งแต่ (C 4) จนถึงกรดปาล์มมิติก (Palmitic

                  acid) การใช้กรดอะเซทติกเพื่อเป็นพลังงานนั้น หลังจากที่กรดอะเซทติกออกจากผนังหลอด
                  เลือด         จะเข้าสู่วัฏจักรเครบส์เพื่อใช้เป็นพลังงานหรือสามารถถูกเปลี่ยนให้เป็นกรดไขมันชนิดต่างๆ

                  ได้ แต่ในสัตว์เคี้ยวเอื้องจะมีเอนไซม์เอทีพี-ซิเตรทไลเอส (ATP-citratelyase) ต่ า การเปลี่ยนกลูโคส

                  เป็นอะเซททิลโคเอนไซม์เอ เพื่อเป็นสารตัวกลางในการเปลี่ยนเป็นกรดไขมันอื่นจึงมีน้อยตามไปด้วย














                  ภาพที่ 2-1 การใช้กรดอะเซทติก(อะซิเตท)เป็นพลังงาน

                  ที่มา:  บุญล้อม (2546)




                         กรดโปรไปโอนิกประมาณ 2-5% ของที่สังเคราะห์ในกระเพาะรูเมน สามารถถูกเปลี่ยนเป็นกรด
                  แลคติกหรือแลคเตทได้ ส่วนใหญ่จะถูกดูดซึมเข้าเส้นเลือดที่ไปตับ เพื่อถูกเปลี่ยนเป็นกลูโคสก่อนที่จะเข้า

                  ไปในวัฏ-จักรเครบส์เพื่อเปลี่ยนเป็นพลังงานต่อไป ในการสร้างกลูโคสจะต้องใช้กรดโปรไป

                  โอเนท 2 โมเลกุลในการสร้างกลูโคส 1 โมเลกุล เริ่มต้นปฏิกิริยาโดยกรดโปรไปโอนิกจะต้องท าปฏิกิริยา
                  กับโคเอนไซม์เอก่อนแล้วเปลี่ยนเป็นซักซินิลโคเอนไซม์เอ (Succinyl CoA) (ก่อนขั้นตอนนี้ต้องใช้



                   บทที่ 2   สารอาหารและเมตาบอลิซึมในร่างกายสัตว์
   65   66   67   68   69   70   71   72   73   74   75