Page 75 -
P. 75

์
                                     ิ
                                   ื
                                              ิ
                      โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
                                                                 ิ
                                                                           ิ
                                                           73

                  จะเคลื่อนตัวผ่านส่วนของล าไส้เล็กตอนปลาย (Ileum) คาร์โบไฮเดรตเมื่อเคลื่อนตัวเข้าสู่ล าไส้เล็ก  เซล
                  ที่ผนังล าไส้เล็กและเซลของตับอ่อนจะผลิตและหลั่งเอนไซม์ที่ส าคัญที่การย่อยเฉพาะคาร์โบไฮเดรตใน

                  ส่วนที่ไม่เป็นโครงสร้างเท่านั้น เช่น เอนไซม์อะไมเลส มอสเตส โอลิโกไกลโคซิเดส (Oligo - 1, 6
                  glycosidase)  เพื่อท าหน้าที่ย่อยคาร์โบไฮเดรตที่ไม่เป็นโครงสร้าง เช่น แป้งและน้ าตาลได้ผลผลิตคือ

                  น้ าตาลกลูโคส แต่กลุ่มคาร์โบไฮเดรตที่เป็นโครงสร้าง เช่น เซลล์ลูโลสและเฮมิเซลล์ลูโลสไม่สามารถถูก

                  ย่อยได้ในล าไส้เล็ก  คาร์โบไฮเดรตที่เป็นโครงสร้างจึงผ่านเข้าไปในล าไส้ใหญ่และถูกย่อยโดยอาศัย
                  เอนไซม์จากจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ที่ล าไส้ใหญ่ โดยเฉพาะที่ส่วนของไส้ติ่ง(Caecum)  ผลผลิตที่ได้จาการ

                  ย่อยจะคล้ายกับผลผลิตที่เกิดขึ้นในกระเพาะรูเมน   เช่น กรดอะเซทติก กรดโปรไปโอนิกและกรดบิวที

                  ริก เป็นต้น  โดยสัดส่วนของกรดไขมันที่ระเหยได้ง่ายแต่ละชนิดจะแตกต่างกันไป  ขึ้นกับชนิดหรือ
                  ประเภทของคาร์โบไฮเดรตที่ผ่านเข้าไปในล าไส้ใหญ่  ถ้ามีคาร์โบไฮเดรตที่ไม่เป็นโครงสร้างมากสัดส่วน

                                                                     ็
                  ของกรดโปรไปโอนิกจะสูง  ปริมาณการย่อยคาร์โบไฮเดรตที่เปนโครงสร้างของพืชจะมากหรือน้อยขึ้นกับ
                  ปัจจัยต่างๆ เช่น อายุของพืช ปริมาณของอาหารหยาบและอาหารข้นที่กินหรือการแปรรูปอาหารที่กิน
                  เป็นต้น

                            น้ าตาลกลูโคสซึ่งเป็นผลผลิตจากการย่อยแป้งและน้ าตาล โดยเอนไซม์จากล าไส้เล็กและตับ
                  อ่อน  สามารถดูดซึมผ่านผนังล าไส้ เพื่อไปใช้ประโยชน์ต่อร่างกายได้โดยตรง   นอกจากจะพบกลูโคสที่

                  เป็นผลผลิตจากการย่อยแป้งและน้ าตาลในล าไส้เล็กแล้ว  ยังพบว่ามีกรดไขมันที่ระเหยได้ง่ายที่ผลิตจาก
                  จุลินทรีย์บางชนิดที่อาศัยอยู่บริเวณส่วนปลายของล าไส้เล็กที่ต่อกับล าไส้ใหญ่ด้วย โดยจุลินทรีย์สามารถ

                  ใช้แป้งที่ไม่ได้ถูกย่อยโดยเอนไซม์จากล าไส้เล็กและตับอ่อนและสังเคราะห์เป็นกรดไขมันที่ระเหยได้ง่าย

                  ได้  เนื่องจากเอนไซม์ชนิดต่างๆ ที่ผลิตจากล าไส้เล็กและตับอ่อน มีคุณสมบัติและประสิทธิภาพในการ
                  ย่อยคาร์โบไฮเดรตแตกต่างกันไป โดยจะท างานอย่างมีประสิทธิภาพเมื่ออยู่ในสภาพที่เหมาะสม

                  เท่านั้น  เช่น เอนไซม์อะไมเลสจากตับอ่อนจะย่อยแป้งได้อย่างมีประสิทธิภาพเมื่อสภาพแวดล้อมมีความ

                  เป็นกรด-ด่าง (pH) ประมาณ 6.9 ส่วนเอนไซม์มอลเตสจะท างานได้เมื่อสภาพ pH อยู่ระหว่าง 6.8-
                  7.0 การที่เอนไซม์แต่ละชนิดท างานอย่างมีประสิทธิภาพแตกต่างกันไป จึงมีผลให้คาร์โบไฮเดรตที่ผ่าน

                  เข้ามาในล าไส้เล็กไม่สามารถถูกย่อยได้ทั้งหมด


                  การย่อยคาร์โบไฮเดรตในล าไส้ใหญ่

                         คาร์โบไฮเดรตที่ไม่ได้ถูกย่อยในกระเพาะรูเมนและในล าไส้เล็ก จะถูกส่งผ่านเข้าไปในล าไส้
                  ใหญ่  ซึ่งเป็นส่วนสุดท้ายของระบบทางเดินอาหารที่มีความจุประมาณ 20% ของกระเพาะรูเมน อาหาร

                  จะพักอยู่ในล าไส้ใหญ่ประมาณ 10-29 ชั่วโมง  การย่อยคาร์โบไฮเดรตที่ไม่ใช่โครงสร้างและ

                  คาร์โบไฮเดรตที่ไม่เป็นโครงสร้างที่ผ่านเข้ามาในล าไส้ใหญ่ จะใช้เอนไซม์จากจุลินทรีย์ประเภทไม่ต้องการ
                  อากาศ  แป้งที่ส่งผ่านเข้ามาในส่วนของล าไส้จะเป็นอาหารแหล่งพลังงานที่ดีของจุลินทรีย์  ท าให้


                   บทที่ 2   สารอาหารและเมตาบอลิซึมในร่างกายสัตว์
   70   71   72   73   74   75   76   77   78   79   80