Page 80 -
P. 80
โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ิ
ิ
์
ื
ิ
ิ
78
กลีเซอไรด์ด้วยเอนไซม์ไลโพโปรตีนไลเปส (Lipoprotein lipase, LPL) ซึ่งมีอยู่ในเอนโดทีเลียล
(Endothelial cells) ของผนังหลอดเลือดฝอย เอนไซม์ LPL นี้ถูกปล่อยออกมาสู่พลาสมาด้วยการ
กระตุ้นของเฮพาริน ซึ่งเป็นสารที่มีอยู่ในกระแสเลือด เอนไซม์นี้จึงเรียกว่า “Heparininduced LPL”
ซึ่งนอกจากพบที่ผนังหลอดเลือดฝอยแล้วยังพบที่ขอบนอกของเซลในเนื้อเยื่ออะดิโพสอีกด้วย LPL ช่วย
ย่อยสลายไตรกลีเซอไรด์ในไลโพโปรตีน ฤทธิ์ของเอนไซม์ LPL ต่างจากเอนไซด์ลิเปสอื่นๆ คือ สามารถ
ย่อยสลายพันธะเอสเทอร์ของไตรกลีเซอไรด์ได้ทั้ง 3 ต าแหน่ง ท าให้ได้กรดไขมันอิสระและกลีเซอรอล
ส าหรับไลโพโปรตีน เช่น ไคโลไมครอนเมื่อถูกย่อยสลายเอาไตรกลีเซอไรด์ออกไปแล้วจะมีขนาดเล็กลง
และมีไตรกลีเซอไรด์ในปริมาณต่ าลงด้วย ไคโลไมครอนที่มีสภาพเช่นนี้ เรียกว่า “Chylomicron
remnant” (ภาพที่ 2-6, ภาพที่ 2-7)
ุ
ภาพที่ 2-6 การซึมผ่านเยื่อบล าไส้ของลิปิดที่ถูกย่อยเข้าสู่เซล
ห ม า ย เห ตุ BA =bile acids, LL=lysolecthin FA, FA=fatty acids, CE= cholesteryl ester,
MG=monoglycerides, TG= triglycerides, FC=free cholesterol
บทที่ 2 สารอาหารและเมตาบอลิซึมในร่างกายสัตว์